8/1/53

ปายเมืองแห่งความสวยงาม


















ประวัติเมืองปาย
เมืองปายแต่เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1800 ตามประวัติความเป็นมาของอาณาจักรล้านนาเรียกอำเภอปายว่า "บ้านดอน" ทั้งนี้เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บนดอนมีป่าไม้ไฝ่ล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำปายและแม่น้ำเมือง ไหลผ่านทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตก รอบบ้านดอนเป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งทัพ และปลูกข้าวเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพและผู้คนได้เป็นจำนวนมาก พ.ศ. 1857 ตรงกับจุลศักราช 679 ทางพิงค์นครเชียงใหม่ ซึ่งมีพระเจ้าครามณีเป็นผู้ครองนครอยู่ ได้ทราบว่ามีชาวพม่าชื่อ พะกำซอ ยกทัพมาตั้งอยู่ที่บ้านดอนก็เกิดความสนใจ ต่อมาเกิดการจราจลที่เมืองแสนหวี เมืองนาย เมืองลายคำ เมืองหมอกใหม่ ในรัฐไทยใหญ่ ประเทศสหภาพพม่า พะกำซอยกทัพกลับไปปราบจราจลจนสงบและย้อนกลับมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 1860 พะกำซอได้สร้างบ้านดอนเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น มีการขุดคูเมืองรอบด้านทุกด้าน ดินที่ขุดขึ้นมาได้ถมเป็นคันดินสูง สร้างประตูเมือง 2 ประตู ทางทิศใต้และทางทิศตะวันออก จนบ้านดอนเป็นเมืองที่แข็งแรงยากที่ศัตรูจะมาตีเมืองนี้ได้ พ.ศ. 1865 เจ้าครามณีผู้ครองนครเชียงใหม่ ขณะนั้นอายุได้ 55 พรรษา ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่พะกำซอ สร้างบ้านดอน พระองค์จึงดำริจะยึดเอาเป็นเมืองขึ้น จึงได้ส่งกองลาดตระเวนมาสอดส่องดูว่าพอจะยกกองทัพมายึดเอาได้หรือไม่ ถ้าได้จะยกทัพมา แต่พระองค์สวรรคตเสียก่อน ในปี พ.ศ. 1871 ถึง ปี พ.ศ.1890 พระเจ้าเสนาะภูติ โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าครามณี ซึ่งครองเมืองเชียงแสนอยู่ได้ส่งเจ้ามหาชัยยกทัพมายึดเอาบ้านดอน สมัยนั้นการเดินทางยากลำบากต้องผ่านป่าทึบและภูเขาสูงสลับซับซ้อน รวมทั้งต้องผจญกับไข้ป่า การเดินทัพของเจ้ามหาชัยได้นำช้างไป 3 เชือก เดินทางรอนแรมขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ จนถึงที่แห่งหนึ่งเหมาะสมแก่การพักทัพจึงหยุดพักแรม ในคืนนั้นเองเจ้ามหาชัยก็หลับและฝันเห็นข้าศึกมาล้อมพระองค์และจับช้างของพระองค์ไปด้วย ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ก็ทรงเล่าความฝันให้เหล่าเสนาอำมาตย์ฟังทุกคนต่างไม่สบายใจ คอยระมัดระวังภัยตลอดเวลา ต่อมาช้างเผือกเชือกหนึ่งก็ตายลงโดยมิทราบสาเหตุ พระองค์จึงสั่งให้เผาและเอากระดูกช้างนั้นไปฝังไว้ใกล้ที่พักแรมแห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "บวกหัวช้าง" อยู่บนเส้นทางสาย ปาย-เชียงใหม่ เจ้ามหาชัยได้ยกทัพกลับเมืองเชียงใหม่และสวรรคตในปี พ.ศ. 1978 ฝ่ายพะกำซอปลูกสร้างเมืองสำเร็จเป็นปึกแผ่นก็มีผู้คนอพยพมาอยู่อีกมากมาย เพื่อความปลอดภัยจึงต้องมีการขุดคูเมืองโดยรอบลึกลงไปอีก และในปี พ.ศ.1980 ได้เดินทางกลับพม่าโดยให้บุตรชายชื่อ พะกำกันนะ อยู่ดูแลบ้านดอนแทน

พ.ศ.2010 พะกำกันนะ ได้สร้างวัดจองใหม่ขึ้น (ปัจจุบันคือวัดโป่ง) พ.ศ.2054 เจ้ามหาชีวิตนามว่า พระจ้าติโลกราช ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ และมอบให้ ศรีใจยา เป็นแม่ทัพยกกำลังมาตีบ้านดอนอีกครั้ง โดยเดินทัพมาจนกระทั่งถึงที่เจ้ามหาชัย จึงสั่งหยุดแล้วส่งกองสอดแนมเดินทางล่วงหน้าไปหาทางที่จะตีเอาบ้านดอนให้ได้ กองสอดแนมไปเห็นว่าบ้านดอนมี 2 ประตู อยู่ด้านทิศใต้และทิศตะวันออก มีคูเมือง 3 ด้าน แต่อีกด้านหนึ่งติดแม่น้ำ จึงกลับมารายงานให้แก่แม่ทัพศรีใจยาทราบ ครั้งถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 แม่ทัพศรีใจยาก็ยกทัพเดินทางต่อจนใกล้ถึงบ้านดอน ได้พบวังน้ำแห่งหนึ่งจึงใช้ช้างลงอาบน้ำแล้วตรัสว่า "พรุ่งนี้เจ้าจะมีชัยชนะ" ซึ่งวังแห่งนี้ต่อมาเรียกว่า "วังช้างเผือก" อยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนบ้านเวียงใต้ จากนั้นจึงเคลื่อนทัพเข้าประชิดประตูทางด้านทิศตะวันตก คืนนั้นก่อนเข้าตีบ้านดอน แม่ทัพศรีใจยาได้ฝันเห็นว่ามีเทพธิดามาห้อมล้อมพระอินทร์มาอุ้มเอาไปนอนบนยอดเขา และกลับมาที่เดิมในตอนเช้า เมื่อแม่ทัพตื่นขึ้นมาจึงเล่าให้อำมาตย์ฟัง นัยว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่แม่ทัพจะตีบ้านดอนได้แน่ รุ่งเช้าแม่ทัพศรีใจยาก็กรีฑาทัพเข้าบ้านดอน สู้รบพม่าและสามารถตีทัพพม่าแตกทางประตูทิศตะวันตก ชาวบ้านเรียกประตูนี้ว่า "ประตูม่าน" และเรียกทุ่งที่รบกันว่า "ทุ่งม่าน" (ม่าน คือ พม่า) ฝ่ายพะกำส่างกง น้องชายของพะกำกันนะ ได้หนีออกไปทางทิศใต้และถูกแม่ทัพศรีใจยาไล่ตามไป เกิดการสู้รบกันขึ้น และได้ถูกแม่ทัพศรีใจยาฆ่าตาย ชาวบ้านเรียกประตูนี้ว่า "ประตูดำ" หมายถึง คนตาย ฝ่ายพะกำกันนะเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงยอมแพ้แก่แม่ทัพศรีใจยา เมื่อตีบ้านดอนได้แล้ว แม่ทัพศรีใจยาได้เกลี้ยกล่อมให้พะกำกันนะ ช่วยปกครองดูแลบ้านดอนเป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่าเมืองเชียงใหม่จะตั้งบุคคลอื่นมาแทน แล้วแม่ทัพยศรีใจยาก็ยกทัพกลับเมืองเชียงใหม่ และรายงานผลการรบให้พระเจ้าติโลกราชทรงทราบ พระองค์จึงแต่งตั้งให้แม่ทัพยศรีใจยามาปกครองบ้านดอน โดยแต่งตั้งเป็น "เจ้าชัยสงคราม" ต่อมา พ.ศ.2090 เจ้าชัยสงคราม เสียชีวิตลง สิริอายุรวม 64 ปี ผู้ครองบ้านดอนใหม่ต่อมาคือ เจ้าแม่สุนันทา ผู้เป็น
พ.ศ.2146 พระเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า ได้อำนาจขึ้นมาและทราบข่าวการเสียชีวิตของเจ้าชัยสงคราม จึงยกทัพเข้าตีแคว้นไทยใหญ่ ตั้งแต่เมืองนาย เมืองแสนหวี เมืองสีป้อ เมืองหมอกใหม่และเลยเข้ามาตีบ้านดอน เวียงใหม่ ด้วยกำลังคนอันน้อยจึงพ่ายแพ้แก่พม่า เจ้ากรุงอังวะสั่งให้เผาทำลายบ้านเมือง วัดวาอาราม เสียหายอย่างมาก บ้านดอนเวียงใหม่ จึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกครั้ง ต่อมาความทราบถึงสมเด็จพระนเรศวร พระองค์จึงยกทัพมาพร้อมพระเจ้าหริภุญชัยเจ้าเมืองเชียงใหม่เพื่อจะตีเมืองอังวะและบ้านดอนเวียงใหม่ โดยเดินทางมาทางเมืองหางและตั้งพระทัยจะตีเมืองอังวะก่อน แต่พระองค์ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อ พ.ศ.2148 ตรงกับจุลศักราช 967 เจ้ากรุงอังวะทราบข่าวสมเด็จพระนเรศวรจะทรงยกทัพไปตีเมืองอังวะ จึงรีบสละบ้านดอนเวียงใหม่ พ.ศ.2398 เจ้าแก้วเมืองมาผู้เป็นหลานของเจ้าชัยสงครามได้มาปกครองบ้านดอน เวียงใหม่ และได้มีการสร้างวัดที่พม่าเผาทิ้งขึ้นมาใหม่ รวมทั้งทำการบูรณะกำแพงต่าง ๆ จนเสร็จเรียบร้อย ในปี พ.ศ.2403 เจ้าแก้วเมืองได้รับบัญชาจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เดินทางไปหาที่ฝึกสอนช้างป่าในดินแดนด้านใต้บ้านใหม่เมืองปายถึง พ.ศ.2409 อูกิคีรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ครองเมืองปาย และเกิดผิดใจกับเจ้าฟ้าโกหล่าน ได้กราบทูลเจ้าเมืองเชียงใหม่ โดยกล่าวหา ว่าเจ้าฟ้าโกหล่านและขุนหลวงผู้เป็นบุตรคบคิดกบฎ จนทำให้เจ้าฟ้าโกหล่านและขุนหลวงต้องอพยพครอบครัวกันมายังเมืองหมอกใหม่ พ.ศ.2412 เจ้าฟ้าโกหล่านยกทัพจากเมืองหมอกใหม่มาตีบ้านดอนเวียงใหม่จนได้รับชัยชนะจึงได้ปกครองเมืองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาถูกกองทัพจากเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาปราบปรามเจ้าฟ้าโกหล่านแตกพ่ายกลับไปยังเมืองหมอกใหม่อีกครั้ง เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงตั้งให้พญาดำรงราชเสมาเป็นผู้ปกครองถึงปี พ.ศ.2417 ชานกะเลผู้มีความสามารถหลายด้านได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็น "พญาสิงหนาทราชา" ครองเมืองแม่ฮ่องสอน และเปลี่ยนบ้านดอนเวียงใหม่เป็น "เมืองปาย" ซึ่งมีพญาดำรงราชเสมาครองเมืองปายอยู่แล้ว จน พ.ศ.2440 พญาดำรงราชเสมาผู้เป็นบุตรชายขึ้นครองเมืองปายแทน พ.ศ.2450 หลังขึ้นปกครองเมืองปายได้ 1 ปี พญาดำรงราชเสมาก็ถึงแก่กรรม ทางเมืองแม่ฮ่องสอนได้เสนอต่อเมืองเชียงใหม่ให้พญาบริบาลปกครองเมืองปาย ซึ่งพญาบริบาลปกครองเมืองปายอยู่ได้ไม่นานก็ลาออก จึงมีการแต่งตั้งให้ขุนส่างเกซะครองเมืองปาย ต่อมา พ.ศ.2453 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกการปกครองมณฑลเปลี่ยนฐานเมืองเป็นอำเภอ และได้แต่งตั้งหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (หลวงสุขุมมินทร์) เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอปาย และมีนายอำเภอปกครองดูแลมาจนถึงปัจจุบันอำเภอปายมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหุบเขากว้างใหญ่ โอบล้อมด้วยแนวเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตกและเทือกเขาแดนลาว พื้นที่บริเวณหุบเขาและพื้นราบลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำแม่ปิงน้อย ลุ่มน้ำแม่เย็น รวมทั้งในพื้นที่ดอนและพื้นที่สูงในป่าเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ และเป็นถิ่นฐานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะหรือละว้า ชนพื้นเมืองดั้งเดิมแห่งสุวรรณภูมิ ดังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ อันได้แก่ สถูป เจดีย์ วิหาร วัดร้าง ซึ่งเป็นโบราณสถานทางพุทธศาสนา รวมทั้งเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่กระจายอยู่บริเวณกว้างในลุ่มน้ำปาย บริเวณรอยต่อเทือกเขาแดนลาวกับเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก เป็นแหล่งต้นธารแม่น้ำปายที่ไหลในแนวเหนือ - ใต้ ผ่านเทือกเขาและผืนป่าที่ยังคงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และมีความหลายหลายทางชีวภาพสูงมาก อันเนื่องจากเทือกเขาแดนลาวเชื่อมต่อกับแนวเทือกเขาหิมาลัย ทอดผ่านมณฑลซินเจียง เสฉวน และยูนนานในสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงมายังรัฐฉานในสหภาพเมียนมาร์และชายแดนไทย จึงมีพืชพันธุ์ไม้กึ่งเขตหนาวรวมทั้งสัตว์ป่าที่มีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย รวมทั้งมีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่ปายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา – แม่แสะ ซึ่งเป็นพื้นที่ตะเข็บรอยต่ออำเภอแม่แตงกับอำเภอปาย และบริเวณโป่งกลางปายซึ่งเป็นพื้นที่ตะเข็บรอยต่ออำเภอปายกับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนตลอดช่วงพัฒนาการอันยาวนานของตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย มีการอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนหลากชาติพันธุ์ในหลายช่วงเวลา โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๓๐ บริษัทบอร์เนียวและบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าของอังกฤษ ได้เข้ามาขอรับสัมปทานทำไม้ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ บริษัททั้งสองแห่งเข้ามาดำเนินการตัดและชักลากไม้ในพื้นที่อำเภอปาย ส่วนพื้นที่แม่สะเรียงใช้วิธีว่าจ้างลูกช่วงคือขุนจันต๊ะ พ่อเลี้ยงชาวปกาเกอะญอเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากการทำไม้ต้องใช้แรงงานคนและช้างจำนวนมาก อังกฤษจึงนำชนชาติข่าหรือขมุจากลาว ต่องสู่และไทใหญ่จากรัฐฉานเข้ามาเป็นคนงาน รวมทั้งคนงานพื้นเมืองจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ไทลื้อจากสะเมิง ปกาเกอะญอจากแม่วาง แม่วิน สันป่าตอง เมืองคอง และแม่สะเรียง คนงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำแม่เย็น ลุ่มน้ำแม่ฮี้ และลุ่มน้ำแม่ปิงน้อยช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา หน่วยทหารช่างกองทัพญี่ปุ่นได้สร้างเส้นทางยุทธศาสตร์จากแยกแม่มาลัย อำเภอแม่แตง ผ่านป่าแป๋ แม่เลา แม่แสะ มายังอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน และขุนยวม เพื่อส่งกำลังทหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และเสบียงอาหารเข้าไปหนุนช่วยกองกำลังแนวหน้าที่บุกเข้าไปปฏิบัติการยึดครองพม่า โดยเฉพาะมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันทางตอนเหนือ พร้อมกันนี้มีการเกณฑ์แรงงานชาวไทยจากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ อันได้แก่ ดอยสะเก็ด สันทราย แม่ริม แม่แตง เชียงดาว ฯลฯ ไปเป็นคนงานสร้างทาง คนงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ในตำบลแม่ฮิ้ อำเภอปายบริเวณหุบเขากว้างใหญ่ลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำแม่ฮี้ ลุ่มน้ำแม่เย็น และลุ่มน้ำแม่ปิงน้อย อยู่ในทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกค่อนข้างชุก ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยประมาณ ๑,๒๗๕ มม./ปี ช่วงฤดูฝนแต่ละปีมักมีน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่ราบลุ่มสองฟากฝั่ง มีการทับถมของโคลนตะกอนที่อุดมด้วยแร่ธาตุสารอาหาร ส่งผลให้เป็นพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว ทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รวมทั้งถั่วเหลืองและกระเทียมซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักส่วนในพื้นที่ดอนและพื้นที่สูงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อันได้แก่ ม้ง ลีซอ ลาหู่ยี(มูเซอร์แดง) ปกาเกอะญอ และจีนคณะชาติอพยพ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างทั้งกายภาพของพื้นที่ตั้ง ภูมินิเวศย่อย ภาษา วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เทคโนโลยีการผลิตและการเพาะปลูก รวมทั้งขนบจารีตประเพณีที่หลอมรวมเป็นวิถีชีวิตของผู้คนและวิถีของชุมชนหลังการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสาย ๑๐๙๕ จากแม่มาลัย ผ่านอำเภอปาย ปางมะผ้า ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอนเสร็จสิ้นลง เริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่อำเภอปาย และนับแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา อำเภอปายเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ว่าเป็นเมืองในหุบเขาที่มีธรรมชาติสวยงาม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสงบงามในวิถีแห่งชนบท และมีศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาหมู่บ้านชาวไทยภูเขาในพื้นที่ห่างไกลมีการปลูกฝิ่น บางแห่งอยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวแบบเดินป่า นักท่องเที่ยวนิยมเดินป่าในเส้นทางผ่านไร่ฝิ่นและนอนพักบ้านชาวไทยภูเขา ทำให้มีการสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วยการนำไร่ฝิ่นและฝิ่นมาเป็นจุดขาย ส่งผลให้อำเภอปายกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่อิงอยู่กับยาเสพย์ติด และรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเพิ่มมากยิ่งขึ้น วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เริ่มปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เมืองปายมีสภาพเป็น “หมู่บ้านโลก” (อุดร วงษ์ทับทิม, ๒๕๓๗ )


1 ความคิดเห็น: