24/9/53

2012 วันสิ้นโลก/2

เส้นทางการเดินทางของวงโคจรดาว นิบิรุ เข้ามาทับเส้นเดียวกับโลกเลย
แปลว่า... มันมีสิทธิชนโลกเราอย่างแน่นอน!!!
เส้นทางวงโคจร ทำให้เรารู้ได้ว่าทางเราส่องดาวบริเวณทิศใต้สุดของดาวโลกเราจะเห็น

แต่ปัจจุบันนี้ ปีนี้สามารถเห็นได้ด้วยเปล่าแล้ว

และสำหรับคนที่อยากเห็นแต่ไม่มีตังไปออสเตรเลียหรือประเทศอะไรที่อยู่ทางใต้ของโลกนะ

แนะนำให้ลองใช้โปรแกรม googleSky ดู ท่านจะเห็นเป็นวงแดงๆ อยู่วงเดียวทั้งท้องฟ้า นั่นหละ นิบิรุ...

แล้วทำไม? มันเกี่ยวอะไรกับโบราณสถานและวัตถุในอดีตหละ
นักโบราณฯ สันนิษฐานว่า นิบิรุเคยโคจรเข้ามาใกล้ทีนึงแล้วในเมื่อหลายแสนปีก่อน

แต่มารอบนี้ มาเทียบและทาบวงโคจรของดาวนิบิรุ คาดว่ามีโอกาสที่จะชนกันสูง
หรือแม้เฉียดกันก็เกิดอันตราย

เพราะแกนของดาวมีสนามแม่เหล็กอยู่ อาจจะทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ
เกิดภาวะน้ำขึ้นกระทันหัน เกิดพายุต่างๆ นา

และเค้าคาดการณ์ไว้แล้วว่า ปี 2012 เราสามารจะเห็นดาวนิบิรุ ใหญ่ขนาดดวงอาทิตย์ได้เลย เพราะมันเข้าใกล้เรามากแล้ว

ข้อมูลอาจจะยังไม่แน่นพอ เพราะ NASA :Xปิดข่าว แต่นักดาราศาสตร์ออกมาอธิบายเรื่องทฤษฎีความเป็นไปได้กันอย่างจ้าละหวั่น

ข้อมูลที่ยังขัดแย้งกันอยู่คือ บางแหล่งบอก ดาวฤกษ์ และ อุกกาบาต เพราะขนาดของมันใหญ่กว่าดาวพฤหัส 2 เท่า!!!
(ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบนี้) “พุทธศาสตร์กับอนาคตโลก” ถึงการละลายของน้ำแข็งบนยอดเขา จำนวน 19 ร้อยล้านตันว่าจะใช้เวลาอีกราว 5-7 ปี ซึ่งละลายหมดในปี ค.ศ.2012 เช่นเดียวกันกับปฏิทิน 22 ของชาวเผ่ามายา ได้ทำปฏิทินเอาไว้ที่ 5,000 ปี โดยแต่ละเดือนจะมี 20 วัน โดยเชื่อว่า โลกในวันสุดท้ายคือ 22 ธันวาคม ค.ศ.2012 พระเจ้าของพวกเขาจะปรากฏตัวอีกครั้งนั่นเอง

2012 วันสิ้นโลก




2012 วันสิ้นโลก

เรื่องนี้คือเรื่อง ดาวปริศานาดวงที่ 12 ของ ระบบสุริยะจักรวาล
ถ้าใครได้พอดูความปี 2002 จะได้ทราบว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ ดาวดวงที่ 12 ขึ้นมาอยู่ในระบบกาแล็คซี่เราดื้อๆ
แต่ความเป็นจริงนักดาราศาสตร์รู้จักดาวนี้มาตั้งแต่ปี 1982 แล้ว
ซึ่งเป็นข่าวใหญ่โตมากช่วงเดือน พฤษภาคม เพราะฉันก็ได้ดูเหมือนกัน
มันคือดาวที่มีชื่อตั้งทางวิทยาศาตร์ว่า นิบิรุ (Nibiru)
และด้วยหลักฐานโบราณวัตถุและนักโบราณคดีได้กล่าวไว้เนืองๆ ว่า...
สิ่งของที่ไม่สามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้เกิดจากดาวดวงนี้
แต่สิ่งที่เรารับรู้คือเจอดาวเคราห์ดวงใหม่ แล้วก็จบ...
ทำไมถึงกล่าวอ้างเช่นนั้น?
ิสิ่งที่เราไม่รู้มันคือสิ่งนี้คะ....
ดาวดวงนี้ทุนเดิมไม่ได้อยู่ในระบบกาแล็คซี่ทางช้างเผือกมาแต่เนิ่นๆ อยู่แล้ว
แต่... มีวงโคจรกว้างใหญ่ไพศาลมาก จนมาทับซ้อนลงบนกาแล็คซี่นี้
แปลว่า... ที่นักวิทยาศาสตร์เห็นเพิ่มมาดวงก็แปลว่ามันโคจรเข้ามาใกล้กาแล็คซี่เราสินะ
ถูกครึ่งเดียวค่ะความจริงมันเเข้ามาทับวงโคจรทั้งแถบเลย

10/7/53

เ ว ล า กั บ น า ฬิ ก า --> แ ต ก ต่ า ง แ ต่ เ ติ ม เ ต็ ม

แปลกมั๊ย..ใคร ๆ ก็คิดว่าเวลากับนาฬิกาเป็นสิ่งที่คู่กันเสมอจริง ๆ แล้ว มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นซักหน่อย

เวลา... เดินไปข้างหน้า
นาฬิกา.. เดินอยู่ที่เก่า

เวลา.. เราไม่อาจย้อนกลับ
นาฬิกา.. เราหมุนย้อนมันได้

เวลา.. เมื่อสูญเสียไปแล้วไม่อาจเรียกร้องคืน
นาฬิกา.. เสียก็ซ่อม หรือซื้อใหม่ไปเลย

เวลา.. ได้มาฟรีๆ ไม่ต้องแลกกะอะไร
นาฬิกา.. ยิ่งสวยยิ่งแพง ใช้เงินซื้อมันมาทั้งนั้น

แล้วอย่างนี้ มันจะคู่กันได้ยังไง ในเมื่อมันแตกต่างกันเหลือเกิน


แต่ถามหน่อย.. ถ้าไม่มีนาฬิกา จะรู้เวลามั๊ย
หรือถ้ามีแต่นาฬิกา แต่ไม่รู้จักเวลา จะมีประโยชน์อะไร


ถึง 2 สิ่งจะแตกต่างกัน แต่ถ้ามันจะคู่กันแล้ว
ย่อมมีจุดร่วมกันเสมอ เพียงแต่จะมองเห็นมันรึป่าว?

ฉันกับเค้า.. อาจไม่มีอะไรเหมือนกัน

ฉันกับเค้า.. มีความคิด และวิถีชีวิตที่ต่างกัน

ฉันกับเค้า.. อาจเดินกันคนละเส้นทาง

ฉันกับเค้า.. อาจมีความฝันที่ห่างไกลกัน

ฉัน.. อาจเหมือนกับเวลา ที่ชอบเดินไปข้างหน้า หาสิ่งใหม่ๆที่ท้าทาย โดยทิ้งหลายสิ่งไว้ข้างหลัง

เค้า.. อาจเหมือนกับนาฬิกา ที่ยังเป็นแบบเดิมๆ ใช้ชีวิตและทำหน้าที่ไปเรื่อยๆ ในมุมเก่าๆ

ฉันอาจไม่พบกับเค้าเลย ถ้าฉันยังดึงดันจะมองแต่ข้างหน้า

ฉันอาจไม่พบกับเค้าเลย ถ้าฉันไม่มองไปข้างหลัง

เค้ายังไม่เห็นฉัน เพราะเขายังอยู่แบบเดิมๆ

เค้ายังไม่เห็นฉัน เพราะเขายังก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของเขาไป

แต่ฉันยังเฝ้ามอง เฝ้ารอ … ความแตกต่าง อาจสร้างกำแพงบังเค้าไว้

แต่ฉันยังเชื่อมั่น ว่าซักวัน สิ่งนั้นน่ะแหละ ที่จะเชื่อมโยงใจเราเข้าหากัน

ความแตกต่าง จะเติมเต็มส่วนที่เราขาดหาย

และสุดท้ายก็จะเหลือเพียงแค่คำว่า..**กันและกัน **

8/7/53

เรื่องย่อปุลากง

เรื่องย่อ : ปุลากง

เข้ม ( ศกร ) เป็นเด็กชายวัย 14 ปี รูปร่างผอมสูง เข้มเป็นลูกของนางแพงศรี กับคุณอรรถ ซึ่งคุณอรรถมีภรรยาหลวงอยู่แล้วคือคุณฉะอ้อน และมีลูกกับคุณฉะอ้อนถึง 4 คน คือคุณปุ้ม หรือคุณอัมพิกา คุณอดิศรลูกชายคนที่ 2 คุณอนันต์ ลูกคนที่ 3 และคุณอรนุช ลูกสาวคนสุดท้อง เข้มเรียกคุณอัมพิกาว่าพี่เพียงคนเดียว เพราะเธอเป็นคนใจดี คุณปุ้มเรียนเปียโนกับคุณพิรุณ ครูพิรุณทำงานหาเลี้ยงตัวเองกับหนูตุ่น ( ศุภรา )ที่เป็นลูกสาวโดยการรับจ้างสอนเปียโน เข้มถูกเลี้ยงดูมากอย่างลูกที่ขาดความอบอุ่นและไม่ได้รับความยุติธรรมจากพ่อ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เข้มกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ พูดจาห้วน และหน้าตาไม่แจ่มใส กิริยาก็ค่อนข้างกระด้าง เมื่อคราวจำเป็นต้องใช้เงินเป็นค่าเทอม เข้มจะหารายได้พิเศษโดยการรับจ้างเล่นการพนันในบ่อนของเมียตำรวจ แต่เข้มไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง นอกจากคุณปุ้ม ในที่สุดเธอก็บอกให้คุณพ่อทราบ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เข้มและกวง เพื่อนชาวจีนของเข้ม ไปเล่นไพ่และเกิดเรื่องเจ้ามือถูกยิงตาย แต่เข้มกับกวงหนีออกมาได้ เข้มมีปากเสียงกับพ่ออย่างรุนแรง
เข้มให้สัญญากับแม่ว่าจะไม่หาเงินด้วยวิธีแบบนี้อีก ต่อมาเข้มสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ และอยู่ประจำนานๆจึงจะได้กลับบ้านสักครั้ง จึงได้รู้ความเปลี่ยนแปลงภายในบ้าน เข้มได้ไปเยี่ยมกวง เขาได้รู้ว่ากวง ติดยาเสพติดอย่างหนัก เข้มจึงรีบนำตัวกวงส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษา และสัญญาว่าเมื่อเรียนจบจะรับกวงไปอยู่ด้วยกัน รุ่งเช้าเข้มรับกวงไปส่งที่โรงพยาบาลหลังจากนั้นจึงไปนั่งเล่นที่แถวท่าพระจันทร์ ขณะสั่งน้ำดื่มเข้มเห็นหนูตุ่นซึ่งขณะนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มากับเพื่อนชาย ทำให้เข้มนึกถึงเรื่องราวในอดีต เขากลับถึงบ้านและเล่าให้แม่ฟัง ก็ได้รู้ว่าเพื่อนชายคนนั้น ชื่อวีรุทย์ หลังเรียนจบ กลุ่มเพื่อนพากันไปฉลองตามแบบของพวกผู้ชาย เพื่อนเข้าใจเข้มจึงให้เลือกเฟ้นผู้หญิงให้เข้ม แต่เขาปฏิเสธ เพราะเขามีความรู้สึกฝังลึก เรื่องแม่ซึ่งถูกกระทำไม่ผิดอะไรกับนางบำเรอเช่นกันมาตั้งแต่เขายังเด็ก เข้มเคยคิดว่าหากเขามีครอบครัว เขาจะรักลูกเมียและจะไม่ทำให้เสียใจดังเช่นที่ตนเคยได้รับจากมาแล้วอย่างเด็ดขาด เพราะมนุษย์มีจิตใจ มิได้มีเพียงความต้องการแค่มีข้าวกิน ส่งเสียให้เรียน มีบ้านให้อยู่ ดังเช่นที่พ่อเข้าใจ และมักจะตอกย้ำเขาอยู่เสมอ ความสัมพันธ์ของเข้มกับพ่อจึงเป็นแค่เพียงผู้มีพระคุณแต่สายสัมพันธ์ทางใจกลับเลือนหาย เข้มปฏิเสธการรับทุนเพื่อไปศึกษาต่อด้านการสืบสวนยังต่างประเทศ เพราะเขาไม่ต้องการรับความช่วยเหลือใดๆจากพ่ออีก เขาหวังเพียงแค่เรียนจบ แล้วออกไปทำงานยังต่างจังหวัดเพื่อให้พ้น เข้มต้องการจะพาแม่ไปจากบ้านหลังนั้นด้วย แต่แม่กลับปฏิเสธและให้เหตุผลว่า ถึงอย่างไรแม่ก็รักพ่อ ยังเป็นเมียของพ่ออยู่ไม่อาจจะทำเช่นนั้นได้ แม้เข้มจะขาดความรักจากพ่อ แต่เขาก็ได้รับการถ่ายทอดความหยิ่งทระนงและมีความภูมิใจในบรรพบุรุษจากตา ซึ่งบรรพบุรุษของตาเคยเป็นถึงเจ้าเมือง ทำให้เข้มจดจำคำสอนของตาและยึดถือปฏิบัติเสมอมา ส่วนหนูตุ่นหลังจากเรียนจบสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และครุศาสตร์ภายหลังแม่เสีย เพราะถูกรถชน หนูตุ่นตัดสินใจไปเป็นนักพัฒนากร ตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง ส่วนวีรุทย์อยู่ที่อำเภอมายอ โดยบ้านก็ให้เช่าไป ปุลากงเป็นตำบลที่เป็นชุมชนของไทยอิสลาม พูดภาษามลายูทั้งหมู่บ้าน มีคนพูดภาษาไทยได้น้อยมาก ประชาชนมีอาชีพทำนา ไม่มีร้านค้า ทั้งตำบลมีโรงเรียนเดียว ทางด้านอนามัยไม่มีส้วม เด็กเป็นโรคหิดและโรคผิวหนังมากที่สุด สิ่งที่เธอได้รับมิใช่เงินเดือนซึ่งเป็นค่าตอบแทนเพียงน้อยนิด แเต่เป็นความภาคภูมิใจที่ได้และมีส่วนเป็นบุคคลที่มีค่าในวงสังคมเพื่อนร่วมชาติ เมื่อศุภรา มาถึงปุลากง ก็ได้เข้าพักที่บ้านครูใหญ่และได้สนิทสนมกับคอดีเยาะลูกสาวของครูใหญ่ วันรุ่งขึ้นงานซ่อมถนนก็เริ่มต้นขึ้น ช่วงบ่ายคณะเจ้าหน้าที่ตามครูใหญ่มาเยี่ยมปุลากง มีนายอำเภอ หัวหน้าศูนย์ฯ และร้อยตำรวจเอกศกร ( เข้ม ) ซึ่งเพิ่งย้ายมาประจำที่ยะหริ่งได้ 6 เดือน เมื่อได้รับการแนะนำศุภราจึงจำได้เข้มได้ว่าเป็นคนข้างบ้านเก่านั่นเอง วีรุทย์ได้มาเยี่ยมศุภราจึงได้พบกับเข้ม วีรุทย์ชื่นชมเข้มที่เป็นตำรวจที่ดี ซึ่งหายาก หลังจากงานซ่อมถนนเสร็จ หนูตุ่นสอนให้นักเรียนกำจัดเหา และตระเตรียมการสร้างส้วมประจำโรงเรียน นะพีหายไปตอนครูใหญ่มาบอกข่าวเรื่องจะมีโจรผ่านมาทางหมู่บ้านให้ทุกคนระวังตัว ตอนค่ำมีตำรวจมาลาดตระเวน ครั้งตกดึกก็มีการยิงปะทะกัน หลังจากเสียงปืนสงบ เข้มมาขอพักที่บ้านครูใหญ่ เพราะมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ เข้มขอให้หนูตุ่นทำแผลให้ที่แขน พร้อมเล่าเรื่องโจรให้ฟัง รุ่งขึ้นตำรวจพานะพีมาส่ง หลังจากเหตุการณ์สงบลง หนูตุ่นเริ่มงานสร้างส้วมโรงเรียนตกเย็นหลังเลิกงานก็แยกย้ายกันกลับบ้าน หนูตุ่น นะพี คอดีเยาะ ได้พบกับการีม เป็นสมุนโจรที่ถูกตามล่า การีมของความช่วยเหลือจากหนูตุ่น และขออย่าให้บอกตำรวจหนูตุ่นจำเป็นต้องช่วยเหลือการีมเพราะเห็นแก่มนุษยธรรม และตั้งใจว่าจะแจ้งให้ตำรวจทราบในภายหลัง การีมเล่าอดีตของเขาให้เธอฟัง เขาเป็นไทยพุทธชื่อศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่เล่าเรื่องสุไลมานกับพวกตามมาพบ และจับตัวการีมกับหนูตุ่นไป ส่วนนะพีหลบอยู่ใต้แคร่จึงลอดไปได้ สุไลมานจะฆ่าการีมกับหนูตุ่นที่ชายน้ำ การีมให้เธอดำน้ำหนีไป พอดีกับที่ตำรวจล้อมจับและช่วยศุภราไว้ได้ หลังจากเหตุการณ์สงบ เข้มต่อว่าหนูตุ่นเรื่องทำเกินหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสมุนโจร หนูตุ่นเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเจ็บใจที่เข้มต่อว่าเธออย่างรุนแรง แต่เธอมิได้รู้ว่าหลังจากเข้มส่งเธอถึงหมู่บ้านแล้ว ก็ยังเฝ้าดูอยู่อย่างห่วงใย หลังจากเหตุการณ์ผ่านไป 3 วัน ศุภราเตรียมเก็บของเพราะคิดว่าตำรวจจะต้องรายงานให้หัวหน้าศูนย์ฯทราบถึงการกระทำของเธอ และคงจะต้องถูกคำสั่งย้ายอย่างแน่นอน แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปหลายวัน ทุกอย่างก็กลับเป็นปกติ ศุภราจึงทำงานของเธอต่อไป โดยมีมัยมูเนาะ ครูคนใหม่เป็นผู้ช่วย วีรุทย์มาเยี่ยมเธอและเล่าถึงเหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ลงเรื่องสมุนโจรกลับใจเข้ามอบตัวและเข้มได้รับการเลื่อนยศจากการปราบปรามโจร ศุภราจึงได้รู้ว่าศักดิ์สิทธิ์หรือการีมยังไม่ตาย โดยไม่มีใครกล่าวถึงแม้แต่วีรุทย์ก็ยังไม่รู้ ตัวเขาชอบพอมูเนาะ จึงไปมาหาสู่งปุลากงบ่อยขึ้น ศักดิ์สิทธิ์กลับมาขออยู่ที่ปุลากง โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านครูใหญ่ เข้มได้พบกับวีรุทย์และมูเนาะ จึงได้รู้เรื่องความเป็นไปที่ปุลากง เรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์กลับมาจากพบพ่อที่ภูเก็ตแล้ว แม้พ่อจะยกมรดกให้ แต่เขากลับปฏิเสธและขอกลับมาอยู่ที่ปุลากง ยิ่งเมื่อได้รู้ว่าศักดิ์สิทธิ์ชวนศุภราไปภูเก็ต และอยากให้อยู่สอนหนังสือที่ภูเก็ต เข้มถึงกับรีบเข้าปุลากงทันที โดยที่เข้มเองก็ไม่เข้าใจความรู้สึกตนเองว่าเพราะเหตุใดจะต้องสบายใจเมื่อรู้ว่า วีรุทย์มิได้เป็นคนรักของ ศุภรา อย่างที่ใครๆเข้าใจกันมาโดยตลอด เมื่อมาถึงปุลากง เข้มเตือนศุภราเรื่องให้ระวังศักดิ์สิทธิ์ และบอกให้เธอรู้ว่าศักดิ์สิทธิ์นั้นรักเธอ คืนนั้นเข้มขอค้างที่บ้านครูใหญ่ด้วยเพราะเย็นมากแล้ว เข้มเป็นไข้ ศุภราจึงนำยาและผ้าห่มมาให้ เขานึกถึงความรู้สึกที่มีต่อศุภรา แต่ด้วยความผูกพันที่มีต่อแม่ทำให้ความทุกข์ทางใจของแม่มีอิทธิพลเป็นแผลเกาะกินใจเขาตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นผลการกระทำอันคาดไม่ถึงของผู้ใหญ่ รุ่งเช้าวีรุทย์กลับมาเล่าถึงความสัมพันธ์ของตนกับ มูเนาะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่คือเรื่องศาสนา และตัวเขาเองกำลังจะย้ายไปเป็นพัฒนากรในท้องถิ่นที่มี ผกค. ( ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ) จึงขอฝากให้ศุภราดูแล มูเนาะให้ ศักดิ์สิทธิ์กลับมาจากอำเภอส่งข่าวเรื่องทุนของนะพี และมอบบัตรเชิญร่วมงานชาวชมรมธรรมศาสตร์ปัตตานีให้ศุภรา ศักดิ์สิทธิ์ทวงถามเรื่องอยากให้ศุภราไปเที่ยวบ้านที่ภูเก็ต เธอจึงรับปากหากว่าวีรุทย์และ มูเนาะจะไปด้วย เด็กๆจัดงานเลี้ยงส่งนะพีที่จะได้เข้าไปเรียนในจังหวัด ขณะช่วยเด็กๆแล่เนื้อเพื่อย่าง ศุภราถูกตัวต่อกัด แต่เธอก็ยังคงสอนหนังสือตามปกติ จนเกิดอาการปวดกำเริบมากขึ้นจนเป็นไข้ ศักดิ์สิทธิ์ทำหน้าที่พยาบาลอย่างห่วงใย จนรุ่งเช้าครูใหญ่จึงไปตามหมอพร้อมกับแขกติดตามมาด้วยคือเข้ม ซึ่งเมื่อเห็นศักดิ์สิทธิ์พยาบาลศุภราความไม่พอใจก็เพิ่มมากขึ้น และเขาก็ได้เห็นว่าชาวบ้านนั้นรักและห่วงใย ศุภรามากแค่ไหน ในวันงานหนูตุ่นได้พบกับเข้ม เขาถามถึงเรื่องไปภูเก็ตและบอกว่าไม่เหมาะสมไม่อยากให้เธอไป แต่เธอกลับมองว่าเข้มมองศักดิ์สิทธิ์ในแง่ร้ายเกินไป พร้อมว่าเข้มเรื่องการทำงานหนักจนไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง เป็นคนที่เคยมีเรื่องทรมานทางด้านความรู้สึกทำเพื่อชดเชยอะไรบางอย่าง คำพูดของเธอทำให้เข้มโกรธเพราะไปสะกิดแผลในใจของเขา ศกรได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติงานลับร่วมกับตำรวจมาเลเซีย โดยทางราชการออกเป็นคำสั่งด่วนและกระจายข่าวว่า ศกรจะย้ายเข้ากรุงเทพฯ ก่อนรับคำสั่งเข้มรีบไปปุลากง เพื่อลาหนูตุ่น แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อหนูตุ่นยังไม่กลับจากภูเก็ต เขาเสียใจที่เข้าใจความรู้สึกของตนเองช้าไป เขาอาจจะไม่มีโอกาสได้บอกกับ ศุภราอีกก็ได้ เมื่อเธอกลับมาถึงปุลากงตอนเย็น จึงได้ทราบข่าวนี้จากครูใหญ่ว่าเข้มฝากมาลา ส่วนวีรุทย์ก็ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครชุดคุ้มครองหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วีรุทย์ เขียนจดหมายฝาก มูเนาะและลูกในท้องไว้กับ ศุภรา พร้อมสัญญาว่าจะกลับมาแต่งงานให้เรียบร้อย วีรุทย์จากไปเดือนกว่าๆ ระยะแรกก็มีจดหมายมาเสมอ แต่ระยะหลังๆ ข่าววีรุทย์หายไป มูเนาะทุกข์ใจมาก ครูใหญ่นำหนังสือพิมพ์เพื่อจะมาไว้ที่ห้องสมุดในศูนย์พัฒนาตำบลมาให้ศุภรา ทำให้ได้รู้ข่าววีรุทย์ตายจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่ลอบโจมตี มูเนาะเสียสติจากข่าวนั้น ในที่สุดมูเนาะก็เห็นภาพหลอนว่าวีรุทย์มาเรียกให้ตามไป จึงเดินลุยน้ำจนจมน้ำถึงแก่ความตาย คอดีเยาะได้เข้ามาเรียนที่จังหวัด ส่วนศุภราอยู่ต่อจนครบ 2 ปีก็ถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพฯ หนูตุ่นเข้ามารับตำแหน่งใหม่ในกองวิชาการ มีจิตรีเพื่อนสนิทเป็นผู้จัดการเรื่องบ้านจนเรียบร้อย คุณปุ้มแวะมาเยี่ยมเธอและถามถึงเข้ม หนูตุ่นจึงได้รู้ว่าเข้มยังไม่ได้กลับกรุงเทพฯตามที่ทราบมา หนูตุ่นได้รับคำชวนจากเพื่อนให้ไปเยี่ยมอาสาสมัครที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ จึงได้รู้ว่าเข้ม ( พันตำรวจตรีศกร ) บาดเจ็บสาหัส มาจากหน่วยปฏิบัติการร่วมพิเศษที่ชายแดนภาคใต้ และผู้เจ็บไม่ประสงค์จะแจ้งให้ทางบ้านทราบ หนูตุ่นมาเยี่ยมเข้มหลายครั้งแต่เขาหลับ จึงฝากบอกวิมลพยาบาลพิเศษไว้ อีกสองอาทิตย์เข้มอาการดีขึ้นจนสามารถกลับบ้านได้ วิมลตามกลับไปพยาบาลดูแลถึงบ้าน เมื่อหนูตุ่นกลับจากราชการต่างจังหวัด เข้มก็มาหาถามเรื่องไปภูเก็ตกับศักดิ์สิทธิ์ และบอกเธอว่าเขาไปราชการลับ แต่ไม่พบจึงไม่ได้พบกันเลยเป็นปี เข้มชวนหนูตุ่นไปทานข้าวที่บ้าน ได้พบวิมลซึ่งอาสาทำอาหารกับมารดาของเข้มอย่างสนิทสนม หนูตุ่นจึงตั้งใจจะไม่ไปทานข้าวที่บ้านของเขาอีก ศุภราเล่าเรื่องความในใจที่มีต่อเข้มให้จิตรีฟัง และพยายามกลับบ้านค่ำโดยแวะกินข้าวกับจิตรี แต่เธอก็ทราบความเป็นไปของเข้มเพราะพบกับคุณปุ้มทุกเช้า คุณปุ้มว่าเข้มจะแต่งงานกับวิมล ศุภราเห็นว่าถึงเวลาที่เธอจะต้องทำใจให้สงบ เพื่อนๆแนะนำให้เธอรับทุนไปต่างประเทศ แต่เธอก็ไม่ชอบ จึงขอออกต่างจังหวัดแทน เข้มได้รับคำสั่งให้ไปราชการลับต่างประเทศ 1 เดือน ทั้งพี่และพ่อต่างสงสัยเรื่องงานแต่งงานของเข้ม นางแพงศรีจึงถาม เข้มจึงบอกความรู้สึกที่มีต่อหนูตุ่น แม่จึงบอกให้เขาจัดการเรื่องหัวใจของตัวเองให้เรียบร้อยก่อนที่จะสายเกินไป เข้มรู้จากคุณปุ้มว่าหนูตุ่นไปอบรมพัฒนาการที่ปัตตานี 3 เดือน จึงลางานและเดินทางไปหาเธอเพื่อบอกความในใจก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ เมื่อถึงปัตตานีเข้มพบเพื่อน ซึ่งอาสาให้ขอยืมรถใช้ เข้มรู้จากศูนย์พัฒนาว่า วันหยุดศุภราจะไปอยู่ที่ปุลากง เขาจึงรีบตามไปพบเธอที่นั่น สร้างความประหลาดใจให้กับเธอยิ่งนัก เข้มบอกว่ามาลา และมีธุระจะคุยด้วย ขอให้ ศุภราเข้าเมืองไปด้วยกัน ระหว่างทางรถเกิดเสีย และเป็นเวลามืดแล้ว ศุภราเห็นกลุ่มคนเดินมาทั้งสองจึงทิ้งรถและหลบเข้าป่าข้างทาง คนกลุ่มนั้นยิงรถหลายนัดก่อนจะออกค้นหาคน แต่ไม่พบจึงเดินจากไป เข้มและศุภราจึงหลบอยู่ที่นั่น เขาบอกความในใจของตนต่อศุภราและขอเธอแต่งงานด้วย โดยที่ทั้งสองตั้งใจจะทำงานเพื่ออุดมคติ อย่างน้อยชีวิตหนึ่งที่เกิดมาเป็นคน ก็ได้ทำประโยชน์เพื่อเพื่อนร่วมชาติร่วมโลกที่ใฝ่หาสันติและเสรีภาพ แม้ชื่อของเขาจะไม่เป็นที่รู้จักของใครก็ตาม ...

5/7/53

ธาตุกัมมันตรังสี

ในปี ค.ศ. 1896 อองตวน อองรี เบ็กเคอเรล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส พบว่า เมื่อเก็บแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำไว้กับสารประกอบของยูเรเนียม ฟิล์มจะมีลักษณะเหมือนถูกแสง และเมื่อทำการทดลองกับสารประกอบของยูเรเนียมชนิดอื่นๆ ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีรังสีแผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม ดังภาพ

ภาพที่ 10 การทดลองสารกัมมันตรังสีของอองตวน อองรี เบ็กเคอเรล
ต่อมา ปีแอร์ และมารี กูรี ได้ค้นพบว่า ธาตุยูพอโลเนียม เรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82 กัมมันตภาพรังสี หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา ในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น
(ธาตุยูเรเนียม) (ธาตุทอเลียม) (อนุภาคแอลฟา)
จะเห็นได้ว่า การแผ่รังสีจะทำให้เกิดธาตุใหม่ได้ หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุเดิม และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุ มีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน เรียกว่า ครึ่งชีวิตของธาตุ ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปและสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้
ตารางที่ 7 ชนิดและสมบัติของรังสีบางชนิด
ชนิดของรังสี
สัญลักษณ์
สมบัติ
รังสีแอลฟาหรืออนุภาคแอลฟา
หรือ
เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม มีโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 2 อนุภาค มีประจุไฟฟ้า +2 มีเลขมวล 4 มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษ อากาศที่หนาประมาณ 2-3 cm น้ำที่หนาขนาดมิลลิเมตร หรือโลหะบางๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้
รังสีบีตาหรืออนุภาคบีตา
หรือ
มีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้า -1 มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน (น้อยมาก) มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า สามารถผ่านแผ่นโลหะบางๆ ได้ และมีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง
รังสีแกมมา
เป็นคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก ไม่มีประจุ ไม่มีมวล เป็นรังสีที่มีพลังงานสูง มีความเร็วเท่ากับความเร็วแสงและมีอำนาจทะลุทะลวงสูง สามารถผ่านแผ่นตะกั่วหนา 8 mm หรือแผ่นคอนกรีตหนาๆ ได้

ภาพที่ 11 อำนาจทะลุทะลวงของรีงสีต่างๆ
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ 1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรงนักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ภาพที่ 12 การเกิดปฏิกิริยาฟิชชัน
2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลและมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันเสียอีก ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) ดังภาพ
ภาพที่ 13 การเกิดปฏิกิริยาฟิวชัน
ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี 1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14 (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ 2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง 3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้ 4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม 5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น 6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า


เอ็กซ์-เรย์
อาบรังสีเพื่อถนอมอาหาร
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
ภาพที่ 14 ตัวอย่างประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี
ตารางที่ 8 แสดงธาตุและไอโซโทป
ธาตุ/ไอโซโทป
ครึ่งชีวิต
แบบการสลายตัว
ประโยชน์
Tc -99
6 ชั่วโมง


C-14
5,760 ปี
บีตา
หาอายุวัตถุโบราณ
Co-60
5.26 ปี
แกมมา
รักษามะเร็ง
Au-198
2.7 วัน
บีตา แกมมา
วินิจฉัยตับ
I-125
60 วัน
แกมมา
หาปริมาณเลือด
I-131
8.07 วัน
บีตา แกมมา
วินิจฉัยอวัยวะ
P-32
14.3 วัน
บีตา
รักษามะเร็ง
Pu-239
24,000 ปี
แอลฟา แกมมา
พลังงาน
K-40
1x109 ปี
บีตา
หาอายุหิน
U-238
4.5x109 ปี
แอลฟา แกมมา
วัตถุเริมต้นให้ Pu-239
U-235
7.1x109 ปี
แอลฟา แกมมา
รักษามะเร็ง
Cl-36
4x105 ปี


Po-216
0.16 วินาที


Ra-226
1,600 ปี
แอลฟา แกมมา
รักษามะเร็ง
โทษของธาตุกัมมันตรังสี 1. ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่า โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูก 2. ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้


3/6/53

ประวัติจังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรี
เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เมืองชล” เป็นจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเลตะวันออกที่มีชื่อเสียงมาช้านาน เป็นแหล่งเกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา รวมทั้งเป็นที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และแหล่งอุตสาหกรรมโรงงานที่สำคัญ
เมืองชลบุร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอหนองใหญ่ อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอพานทอง อำเภอบ่อทอง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอเกาะสีชัง และกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ สำหรับ พัทยา ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับนานาชาติ และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการบริหารปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ เรียกว่า เมืองพัทยา โดยแยกออกจากการปกครองของอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ประวัติและความเป็นมา
ชื่อเสียงของเมือง ชลบุรี ในฐานะเมือง ท่องเที่ยว ชายทะเล ทำให้หลายคนคงนึกไม่ถึงว่า ชลบุรี จะเป็นเมืองหนึ่ง ที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่ก่อนสมัย สุโขทัย และเคยมีชุมชน ของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ด้วย น่าเสียดาย ที่หลักฐาน ทางโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ในหลายๆ แห่ง สูญหายไป และคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน น้อยมาก

บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งลำน้ำพานทอง ซึ่งไหลจากที่สูง ในเขต อ.พนัสนิคม ไปออก แม่น้ำบางปะกง เคยมีคนในยุคหินใหม่ อาศัยอยู่ โดยพบ หลักฐานสำคัญ ที่บริเวณโคกพนมดี ต.ท่าข้าม อ.พนัสนิคม คนกลุ่มนี้ ใช้ขวานหินขัด เครื่องประดับ พวก กำไลลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา แบบเชือกทาบ และกินอาหาร จากทะเล เช่น หอยแครง ปู ปลา เป็นอาหารหลัก แสดงว่า สมัยนั้น พื้นที่นี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลกว่าปัจจุบันมาก

ที่ ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม เมื่อประมาณ 1,400-700 ปีก่อน มีเมืองพระรถ ตั้งอยู่ บริเวณนี้มีลำน้ำสายต่างๆ จากที่สูงมารวมกันเป็นลำน้ำพานทอง สามารถเดินทางตามลำน้ำไปติดต่อกับชุมชนอื่นๆ ในสมัยนั้น เช่น เมืองศรีมโหสถ ใน จ.ปราจีนบุรี และ ไปถึงอรัญประเทศได้ เมืองพระรถ จึงเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมในท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินบก ไป ระยอง และ จันทบุรี ผ่านเมืองพญาเร่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณ อีกเมืองหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัด ชลบุรี ด้วย เมืองพระรถ อยู่ในสมัยทวารวดี ถึงสมัย ลพบุรี

ถ้ามาจากเมืองพระรถ ไปตามลำน้ำพานทอง จนออกทะเล ที่ปากแม่น้ำบางปะกง บริเวณนี้ มีชุมชนที่ต่อมา พัฒนาเป็นเมืองขึ้น เมื่อ 600 ปีก่อน ชื่อเมืองศรีพโล ในสมัยสุโขทัย เมืองศรีพโล เป็นเมืองท่าชายทะเล เรือสำเภาจากจีน เวียดนาม และ กัมพูชา เดินทางมาจอดพักสินค้า ก่อนเดินทางต่อไปยังปากแม่น้ำเจ้าพระยา และ จอดพักก่อนกลับ หรือ ข้ามอ่าวไทย ไปทางใต้ ปัจจุบัน กำแพงเมือง ศรีพโล ถูกทำลายไปหมด เนื่องจากการสร้าง ถ.สุขุมวิท

เมืองศรีพโล เป็นเมืองท่า มาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ก็หมดความสำคัญลง อาจเพราะอ่าวเมืองศรีพโล ที่เคยเป็นฝั่งทะเลลึกเกิดตื้นเขินขึ้น เนื่องจากตะกอนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มาทับถมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ ชุมชนจึงเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ ที่ ต.บางปลาสร้อย ซึ่งมีสภาพชายทะเล และทำเล ที่จอดเรือดีกว่า บางปลาสร้อย นี้ก็คือ ที่ตั้งของเมืองชลบุรี ในปัจจุบันนั่นเอง

ในแผนที่ ไตรภูมิ สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อตำบลสำคัญของ ชลบุรี เรียงจากเหนือลงใต้ คือ บางทราย บางปลาสร้อย บางพระเรือ (ปัจจุบันคือ บางพระ) และบางละมุง ส่วนในทำเนียบศักดินาหัวเมือง มีชื่อเมือง ชลบุรี ว่าเป็นเมืองชั้นจัตวา ที่วัดใหญ่อินทาราม ซึ่งอยู่ในตัวเมือง ชลบุรี มีภาพเขียนสมัย อยุธยา ตอนปลาย แสดงถึงชีวิต ความเป็นอยู่ของชาว อยุธยา ชาวต่างชาติ ทั้งฝรั่ง และ จีน ภาพปราสาทราชวัง ฝีมือเขียนภาพงดงามมาก และ เป็นบันทึกหลักฐานอย่างดี ของเมืองท่าแห่งนี้

ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระอินทอาษา ชาวนครเวียงจันทน์ พาชาวลาว มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ในที่ระหว่างเมืองชลบุรี กับ ฉะเชิงเทรา ต่อมา จึงตั้งขึ้น เป็นเมืองพนัสนิคม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองพนัสนิคม และ เมืองบางละมุง ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นต่อ เมืองชลบุรี และเป็นอำเภอหนึ่งของ ชลบุรี มานับแต่นั้น

ชลบุรี มีความสำคัญในฐานะเมืองท่า นับเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี จากสมัยสุโขทัย มาถึงสมัย รัตนโกสินทร์ และกระทั่งปัจจุบัน ก่อนที่จะมามีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะเมืองตากอากาศชายทะเล เช่นทุกวันนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ ติดต่อกับ จ.ระยอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จ.ฉะเชิงเทรา จ.จันทบุรี และ จ.ระยอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย

“จะมีสักกี่ครั้ง ที่เราจะรู้สึกถึงความรักที่เต็มไปด้วย.......ความสุข”

“จะมีสักกี่ครั้ง ที่เราจะรู้สึกถึงความรักที่เต็มไปด้วย.......ความสุข”

จะมีสักกี่ครั้ง ที่เราจะรู้สึกถึงความรักที่เต็มไปด้วยความสุข

แต่ก็แฝงไปด้วยความทุกข์ สุขเพราะได้รักใครคนหนึ่งอย่างสุดหัวใจ

และได้คิดถึงเขาทุกลมหายใจ แต่ในความรักที่เต็มไปด้วยที่สุดนั้น

ก็มักจะทำให้เราเจ็บปวด คุณเคยร้องไห้เพราะรักใครสุดหัวใจ

และเคยต้องร้องไห้เพราะคิดถึงใครคนหนึ่ง อย่างที่ไม่รู้ว่าเขาคนนั้น

จะคิดถึงเราบ้างหรือเปล่า เราไม่สามารถหาคำตอบได้

แต่ความรัก มันจะมีคำตอบอยู่ในตัวของมัน

หากเรารักอย่างมีสติ ลองมองย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง

ค้นหาใจของตัวเองบ้าง อย่าให้ไปอยู่ที่ใครคนนึงจนหมดทั้งหัวใจ

จงเก็บไว้สำหรับตัวเองสัก 1 ห้อง เก็บไว้เผื่อวันข้างหน้า

ที่เราไม่รู้ว่ามันจะต้องเตรียมพื้นที่ ไว้สำหรับ 3 ห้องที่เหลือต้องกับคืนมาอย่างบอบช้ำ

เก็บความคิดถึงไว้คิดถึงตัวเองบ้าง หากเรามัวคิดถึงว่า

เขาทำอะไรอยู่ กินอะไรหรือยัง วันนี้เขาจะไปไหน

ลองเปลี่ยนมาคิดถึงว่า วันนี้เราจะทำอะไร จะกินอะไรดี และวันนี้เราจะไปไหน

เพื่อลดความเจ็บปวดของความคิดถึง

นิยามรักของฉันและเธอเป็นแบบเดียวกันไหม...?

นิยามรักของฉันและเธอเป็นแบบเดียวกันไหม...?


.. บางครั้ง "ความรัก"ก็เดินเข้ามาหาเรา เพื่อให้เราเรียนรู้ มิใช่เพื่อให้เราครอบครอง

... ไม่ผิด หากจะรักคนมีเจ้าของ แต่จะผิด หากเข้าไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับคนอีกคน

... หน้าที่ของ "ความรัก" คือการเดินไปรับ และยืนเฉยๆ เพื่อรับมัน ไม่ใช่ดิ้นรนเพื่อให้ได้มา

... ในห้วงรัก การถูกรัก มันสุขใจ การมอบความรัก มันอิ่มเอม และเมื่อได้รับการปฏิเสธ มันทรมาณ

... "ความรัก" จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดการถ่ายเทพลังงานอันอ่อนโยนของคนสองคน

... คนบางคน เหมาะที่จะเกิดมาเพื่อให้เรารัก แต่ไม่เหมาะที่จะร่วมชีวิตด้วย

... "ความรัก"ระยะแรกทำให้ร่างกายหลั่งสารกระตือรือร้น ทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง"ความรัก"

... แฟน ก็คือ เพื่อนคู่คิด ที่จะก้าวไปด้วยกันในวันข้างหน้า

... ในวันที่ "ความรัก"คงที่ สารกระชุ่มกระชวยงดทำงาน สิ่งเดียวที่จะทำให้อยู่ด้วยกันได้ตลอดไป คือ "ความเข้าใจ" ล้วนๆ

... ความห่างไกล มันทรมาน เวลาเจอกันจึงหอมหวาน และเป็นความทรงจำที่เก็บไปนั่งเพ้อฝันได้ในวันจาก

... บุคคลไม่พึงประสงค์สำหรับทุกคู่รัก มันจะเดินทางเข้ามาโดยไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย

... ผู้ชาย แสดง "ความรัก" ด้วยการกระทำ ขณะที่ผู้หญิง อยากรู้ว่า "รัก" จากคำพูด

13/5/53

"ความรักกับอากาศคุณจะเลือกสิ่งไหน"

"ความรักกับอากาศคุณจะเลือกสิ่งไหน"
มีคนเคยถามฉันว่าระหว่างความรักกับอากาศจะเลือกสิ่งไหน ฉันก้อไม่อาจจะตัดสินใจบอกได้ทันทีว่าจะเลือกสิ่งไหนระหว่างสองสิ่งนี้ เพราะว่า....ไม่มีอากาศ ...ก็ไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรัก ยังหายใจได้..เหมือนทุกวัน อากาศไม่ต้องเสาะแสวงหา แต่ความรักจะได้มาต้องบากบั่น อากาศได้มาง่ายๆ และมีอยู่มากมายร้อยพัน ส่วนความรัก แม้เพียงฝัน..ก็สุขใจ อากาศแทบไม่มีน้ำหนัก ส่วนความรัก ใครก็เห็นว่ายิ่งใหญ่ อากาศ ไม่เคยสร้างความเสียใจ หากความรัก ทำให้ต้องร้องไห้ มีน้ำตา อากาศ ทำให้ทุกชีวิตดำรงอยู่ และความรัก ทำให้ลมหายใจทุกอณูมีคุณค่า อากาศมองเห็นได้ยากด้วยสายตา ส่วนความรัก เห็นด้วยตารู้ด้วยใจ มีอากาศโลกก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่ มีความรักโลกจะกลายเป็นสีชมพูหวานไหว สำหรับอากาศ เข้า-ออกตามลมหายใจ แต่ความรักหากมีไว้..ก็ไม่อยากสูญเสียไปสักนิดเดียว ดูแลรักษาอากาศว่าลำบาก ดูแลความรัก ยิ่งยุ่งยาก หากไม่ชอบแลเหลียว อากาศมากเท่าไหร่ ...ก็ไม่กลมเกลียว ความรักแม้บางเบาก็แน่นเหนียว...และผูกพัน ส่วนประกอบของอากาศสามารถบรรยาย แต่ความรักไม่อาจอธิบายด้วยคำสั้นๆ อากาศ อาจดี-แย่ แต่ละวัน ส่วนความรักนั้น จะยังคงอบอุ่นกรุ่นหัวใจ "ความรัก" กับ "อากาศ" หากถามว่าเลือกที่จะขาดสิ่งไหน แม้อากาศจำเป็นสักเพียงใด ในโลกที่ความรักสิ้นไร้ ..ก็ไม่อาจทนอยู่ได้ เช่นกัน "ฉันขอเลือกอากาศก่อนค่ะขอสุดมันให้เต็มปอดแล้วฉันจะเดินลงไปใน...เส้นทางเเห่งความรักอีกครั้ง! อากาศ คือ ลมหายใจหากหมดลมหายใจ...ฉันก็อดที่จะมีความรักสิคะ " แล้วคุณล่ะจะเลือกสิ่งไหน.......

14/4/53

บทความรัก


ทุกครั้งที่สายลมพัดไหวหัวใจ
ก็ล่องลอยไปกับความรู้สึกลึกล้ำ
เช้าที่แดดส่องสว่าง ยามบ่ายที่สายฝนพร่างพร่ำ
หรือแม้แต่ในคืนค่ำที่ดอกหญ้าเริงระบำใต้แสงดาว
มีเพียงความรู้สึกเดียวที่ชัดเจน…
อย่างที่ฉันเป็น…ที่เธอรับรู้ ได้เห็น
โดยไม่ต้องบอกกล่าวแต่ละวันผ่านไป
มีเธอเสมอในทุกเรื่องราวสุข ทุกข์ ร้อน หนาว ฉันรู้ว่ายังมีเราอยู่ใกล้ๆกัน
ทุกครั้งที่สายลมพัดไหวหัวใจก็ล่องลอยไปกับความรู้สึกเหล่านั้น
ซึ่งอาจไม่ยิ่งใหญ่ แต่มีค่าต่อหัวใจ
ต่อความผูกพันและแทนด้วยถ้อยคำสั้นๆนั่น…คือ…รักเธอ
หยิบขวดแก้วมาหนึ่งขวด มีคนรักหนึ่งคน เติมน้ำในขวดแก้ว ครึ่งขวด หยิบต้นไม้ ใส่ลงไป เติมเต็มให้กับคนรัก ดูแล ห่วงใย เอาใจใส่กันและกัน นำต้นไม้ในขวดแก้วไปวางไว้ในที่ ที่ เห็นว่าสมควร เก็บเอาคนรักไว้ในใจ ให้อิสระ ซึ่งกันและกันต้นไม้ในขวดแก้ว ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา นาน ๆ เติมน้ำให้หน คนรัก ไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน หรืออยู่ด้วยกันตลอดทั้งวัน แต่ไม่ลืมว่าเรามีกันและกัน ต้นไม้ในขวดแก้ว อยู่ได้ตามลำพัง ในขวดแก้วต้นเดียว ได้ตลอดไป คนรักต่างคนต่างอยู่ แต่ไม่ตลอดไป เมื่อถึงเวลาอันควรเมื่อใด เราจะไม่แยกจากกัน
ต้นไม้ในขวดแก้ว ไม่มีวันตาย ถ้าไม่ขาดน้ำ คนรัก ไม่มีวันพรากจากกัน ถ้าหมั่นดูแลหัวใจของกันและกัน ที่สำคัญ คือการซื่อสัตย์ต่อคนรัก ต้นไม้ในขวดแก้ว แตกสลายได้ง่าย เมื่อเผลอไปปัด หรือวางในพื้นที่ไม่เรียบ – หมิ่นเหม่ คนรัก แตกแยกจากกันได้ยาก หากไม่แก้ปัญหา หันหน้าเข้าหากัน เอาเหตุผลมาคุยกัน ให้เกียรติกันทำไมต้นไม้ในขวดแก้ว ถึงไม่ตาย เมื่อมันไม่มีดิน เพราะต้นไม้บางตันหยั่งรากได้ทั้งในน้ำ หรือ ใต้ดินทำไมคนรักไม่หวงแหน หรือ ระแวง ว่าอีกคนมีใครซ่อนไว้หรือเปล่า เพราะรากฐานของคนสองคนอยู่ที่การไว้ใจ
ดังนั้น ตันไม้ในขวดแก้ว จึงดูแล ได้ง่าย เมื่อรู้ว่ามันเป็นพืชชนิดใด
แต่……คนรัก….ยากนัก หากไม่รู้จักเอาใจเค้ามาใส่ใจเรา ไม่รู้จักการให้อภัย ไม่รู้จักการไว้ไจ เราก็จะไม่มีวันรู้จัก… ความรัก…ที่แท้จริง………

กลอนเศร้าๆ


กลอนเศร้าๆ “หลายครั้งที่เราทะเลาะกัน…”

หลายครั้งที่เราทะเลาะกัน…เธอเคยคิดจะปรับตัวเข้าหาฉันบ้างไหม
ทะเลาะกันกี่ครั้งฉันก็ผิดอยู่รํ่าไป.......มันเหนื่อยใจรู้ไหมไม่ว่าทำอะไรก็ผิดทุกที
เวลาเธอโกรธฉันก็ขอโทษ.....เวลาฉันโกรธเธอกลับทำเมินเฉย
ผู้หญิงคนนี้ก็มีหัวใจเหมือนกันอย่างปล่อยปะละเลย…ท่าทีที่เฉยๆใช่ว่าไม่เจ็บเลยขอให้เข้าใจ

1/4/53

นิยามรัก

... บางครั้ง "ความรัก"ก็เดินเข้ามาหาเรา เพื่อให้เราเรียนรู้ มิใช่เพื่อให้เราครอบครอง
... ไม่ผิด หากจะรักคนมีเจ้าของ แต่จะผิด หากเข้าไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับคนอีกคน
... หน้าที่ของ "ความรัก" คือการเดินไปรับ และยืนเฉยๆ เพื่อรับมัน ไม่ใช่ดิ้นรนเพื่อให้ได้มา
... ในห้วงรัก การถูกรัก มันสุขใจ การมอบความรัก มันอิ่มเอม และเมื่อได้รับการปฏิเสธ มันทรมาณ
... "ความรัก" จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดการถ่ายเทพลังงานอันอ่อนโยนของคนสองคน
... คนบางคน เหมาะที่จะเกิดมาเพื่อให้เรารัก แต่ไม่เหมาะที่จะร่วมชีวิตด้วย
... "ความรัก"ระยะแรกทำให้ร่างกายหลั่งสารกระตือรือร้น ทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง"ความรัก"
... แฟน ก็คือ เพื่อนคู่คิด ที่จะก้าวไปด้วยกันในวันข้างหน้า
... ในวันที่ "ความรัก"คงที่ สารกระชุ่มกระชวยงดทำงาน สิ่งเดียวที่จะทำให้อยู่ด้วยกันได้ตลอดไป คือ "ความเข้าใจ" ล้วนๆ
... ความห่างไกล มันทรมาน เวลาเจอกันจึงหอมหวาน และเป็นความทรงจำที่เก็บไปนั่งเพ้อฝันได้ในวันจาก
... บุคคลไม่พึงประสงค์สำหรับทุกคู่รัก มันจะเดินทางเข้ามาโดยไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
... ผู้ชาย แสดง "ความรัก" ด้วยการกระทำ ขณะที่ผู้หญิง อยากรู้ว่า "รัก" จากคำพูด

13/1/53

ประวัติจังหวัดเชียงใหม่

ประวัติจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 20,107,057 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหมือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ส่วนสภาพทางภูมิศาสตร์นั้น พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะและภูเขา มีที่ราบอยู่ตอนกลาง ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตร ตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 204 ตำบล และ 1,915 หมุ่บ้าน คือ อำเภอเมือง อำเภอหางดง อำเภอแม่แตง อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเชียงดาว อำเภอส้นทราย อำเภอฝาง อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอพร้าว อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ อำเภอแม่วาง กิ่งอำเภอแม่ออน และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
อาณาบริเวณของเมืองเชียงใหม่ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าซึ่งเป็นศูนย์กลางขออาณาจักรล้านนาไทย อันมีนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์" กษัทตริย์ผุ้สร้างนครเชียงใหม่ พ่อขุนเม็งรายมหาราชพระองค์ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยบนแผ่นดินล้านนาไทย ให้เป็นปฐพีเดียวกัน รวมเป็นอาณาจักรล้านนาไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์เป็นพระโอรสผุ้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าลาวจักราช ซึ่งเป็นผุ้สร้างอาณาจักรโยนก ในระยะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรล้านนาไทยนั้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชกำลังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสูโขทัย และพ่อขุนงำเมืองกำลังเป็นไญ่อยู่ที่เมืองพะเยา กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้เป็นพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานมาด้วยกัน ฉะนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายรวบรวมเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนาไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนา หลังจากนั้น พ.ศ. 1824 พระองค์ก็เสด็จกรีธาทัพเข้าตี นครหริภุญไชย - ซึ่งมีพญายีบาครองอยู่ และเป็นนครที่มั่นคงแข็งแรงที่สุดทางตอนใต้ได้สำเร็จสมพระราชประสงค์ แล้วเสด็จเข้าประทับอยู่ในนครหริภุญไชยเป็นเวลา สองปี จึงทรงมอบให้อ้ายฟ้าอำมาตย์ครองนครหริภุญไชยแทน ส่วนพ่อขุนเม็งรายได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกของนครหริภุญไชย ครองอยู่ได้สามปีทรางเห็นว่า เมืองใหม่ทำเลไม่เหมาะสมจึงโปรดย้ายราชธานีมาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ริมฝั่งแม่น้ำระมิงค์ มีชื่อว่า "เวียงกุมกาม" (ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) ครองราชย์อยู่ จนถึง พ.ศ. 1835 ก็เกิดนิมิตรประหลาดดลพระทัยให้พ่อขุนเม็งรายไปประพาสป่าและทอดพระเนตรพบชัยภูมิที่จัดสร้างเมืองเชียงใหม่ พระองค์โปรดให้สร้างที่ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก (เมืองเล็ก) หรือ เวียงเชียงมั่น (คือ บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) จากนั้นก็โปรดให้ไพร่พลถางป่า และปรับพื้นที่บริเวณเชิงดอยอ้อยช้าง หรือ ดอยสุเทพในปัจจุบัน แล้วโปรดให้เชิญเสด็จพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย และพญางำเมือง แห่งนครพะเยา พระสหายร่วมน้ำสาบานมาช่วยพิจารณาการสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระสหายทั้ง 2 พระองค์เสด็จมาถึงและได้เห็นชัยภูมิที่ราบอันสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตรงเชิงดอยสุเทพก็พอพระทัย พ่อขุนรามคำแหงถึงกับทรงมีพระดำรัสว่า "เมืองนี้ข้าศึกจะเบียบดเบียนกระทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่ก็จะมีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยุ่จะมีเงินแสน" ส่วนพระยางำเมืองถวายความเห็นว่า "เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะเหตุว่าเนื้อดินมีพรรณรังสี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธิ์นักแล" ในที่สุด พ่อขุนเม็งรายก็ทรงดำเนินการสร้างเมืองใหม่โดยให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมือง เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมทั้งโปรดให้สร้างปราสาท ราชมณเทียรและบ้านเรือนในปี พ.ศ.1839 พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง ก็พร้อมใจกันขนานนาม พระนครแห่งใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ " เรียกกันเป็นสามัญว่า "นครพิงค์เชียงใหม่" ต่อจากนั้น พ่อขุนเม็งรายก็ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ปกครองอาณาจักรล้านนาไทย ราชธานีอยู่ที่ นครเชียงใหม่ ทรงเป็นต้นราชวงค์เม็งรายครองราชย์อยู่จน พ.ศ.1860 วันหนึ่งขณะที่พ่อขุนเม็งรายกำลังเสด็จประพาสตลาดกลางนครเชียงใหม่ ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก จนอัสนีบาตได้ตกต้องพระองค์สิ้น พระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 79 พรรษา และมีเชื้อสายของพ่อขุนเม็งรายได้ปกครองอาณาจักล้านนาไทยต่อเนื่องกันมา เมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยสืบต่อกันมาเป็นเวลนาน ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุทธยา และประเทศพม่าอยู่หลายยุคหลายสมัย จนครั้งสุดท้ายในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีนครเชียงใหม่ได้จากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2317 แล้วทรงกวาดล้างอิทธิพลของพม่าจากล้านนาไทยได้สำเร็จ เมืองเชียงใหม่จึงกลับมาเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จนสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนา "พญากาวิละ" (กาวิละ ณ เชียงใหม่) ขึ้น เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ สือต่อมา 9 พระองค์ มีเจ้านวรัฐเป็นองค์สุดท้ายถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2440 ทรงยุบเมืองประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย แข่งการปกครองราชอาณาจักรออกเป็นมณฑล ได้ยกเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นมณฑลพายัพ และต่อมาภายหลังได้ยกเลิกเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมระยะเวลาที่เชียงใหม่ได้เป็นราชธานีอาณาจักรล้านนาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 1839 จนถึง พ.ศ. 2540 ได้ 700 ปี

ประวัติสุโขทัย

ประวัติจังหวัดสุโขทัย

จังหวัดสุโขทัย เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ ๗๐๐ ปีที่แล้ว คำว่า "สุโขทัย" มาจากสองคำ คือ "สุข+อุทัย" หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" รอยอดีตแห่งความรุ่งเรือง เห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

ประวัติสุโขทัยเริ่ม พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระยาศรีนาวนัมถมพระบิดาพ่อขุนผาเมืองได้ปกครองเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลญลำพงข้าหลวงจากราชอาณาจักรขอมได้เข้ายึดครองเมือง ขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองจ้าวเมืองราดได้ยึดเมืองคืน และสร้างเมืองสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี มีขุนบางกลางหาวพระนามใหม่ว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัย อาณาจักรแห่งแรกของประเทศไทย

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้แผ่อาณาจักรออกไปกว้างขวางคลุมเขตประเทศไทยเกือบหมด บ้านเมืองเจริญทุกด้าน ไม่ว่าด้านประวัติศาตร์ ยุทธศาสตร์ กฏหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี เฉพาะอย่างยิ่งทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ อักษรไทยที่ทรงประดิษฐ์นี้ได้จารึกไว้ในแผ่นศิลามากมาย ศิลาจารึกเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญให้รู้เรื่องเมืองสุโขทัยมากขึ้น

ในศิลาจารึกบอกถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่ามีอาณาเขตกว้างมาก ทิศเหนือจรดเมืองแพร่ น่านและหลวงพระบาง ทิศใต้จรดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจรดเมืองเวียงจันทร์ และทิศตะวันตกจรดเมืองหงสวดี การปกครองบ้านเมืองเป็นระบบ "พ่อปกครองลูก" ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีมีสิทธิเสรีภาพดั่งคำจารึกว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใสในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า"

สมัยนั้นชาวสุโขทัย ทำเกษตรกรรมเป็นหลัก อาศัยน้ำที่มีอยู่บริบูรณ์ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้งเรียกว่า "ทำนบพระร่วง" ซึ่งนักโบราณคดีได้ศึกษาพบถึง ๗ แห่ง สุโขทัยเป็นศูนย์กลางค้าและการผลิตเครื่องถ้วยชามที่เรียกว่า "สังคโลก" ส่งขายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนิเซีย และบอร์เนียว นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์การค้าสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชามและผ้าไหม เพื่อขายในประเทศและส่งต่อต่างประเทศด้วย หลักฐานที่สะท้อนให้เห็นความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสุโขทัย ได้แก่ สมบัติทางวัฒนธรรมที่ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและมรดกโลกในปัจจุบัน

ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ กรุงศรีอยุธยา มีอำนาจมากขึ้นและเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจแทนสุโขทัย แต่สุโขทัยก็ยังมีพระมหากษัตริย์ปกครองกันติดต่อมาอีก ๒ พระองค์ จึงสิ้นพระราชวงศ์สุโขทัยและได้รวมเข้ากับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่เมืองพม่าครั้งที่ ๒ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นที่บ้านธานี(ท่าหนี) ริมแม่น้ำยมซึ่งก็คือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๕ ได้ยุบอำเภอธานี ตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นกับจังหวัดสวรรคโลก จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ยกอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นเป็น จังหวัดสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา

สุโขทัยในปัจจุบัน ตัวเมืองในปัจจุบันนี้มิใช่กรุงสุโขทัยอันเป็นราชธานีเดิมแต่เป็นเมืองสุโขทัย ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีทรงย้ายผู้คนทั้งหมดจากสุโขทัย ตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำยมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ โดยห่างจากตัวเมืองสุโขทัยที่เคยเป็นราชธานี ๑๒ กิโลเมตร พระราชดำริในครั้งนั้นมีอยู่ว่า เมืองสุโขทัยเป็นเมืองใหม่ไม่มีผู้คนพอจะต่อสู้รักษาให้พ้นจากการรุกรานจากพม่าข้าศึกได้ เมืองสุโขทัยเคยถูกยุบเป็นอำเภอมีชื่อว่า "อำเภอธานี" ขึ้นอยู่กับอำเภอสวรรคโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางการจึงได้ยกฐานะเป็นจังหวัดดังปรากฏอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้

สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของราชอาณาจักรไทย สิ่งสำคัญที่จะต้องระลึก ก็คือมหาราชพระองค์แรกของไทย ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ สุโขทัยแห่งนี้พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกับได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล และเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดในช่วงเวลานั้น จากร่องรอยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ชีให้เห็นว่า ศิลปวัฒนธรรมของความเป็นไทยได้เริ่มต้น ณ แห่งนี้ วิทยาการความรู้ความสามารถ และเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีภาษาและหนังสือของตนเองได้บ่งบอกถึงอารยธรรมอันสูงส่งของคนไทยได้เริ่มขึ้นและวิวัฒนาการเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานไทยได้สืบทอดต่อกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

สุโขทัยจึงเป็นดินแดนแห่งความทรงจำ เป็นดินแดนแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติที่จะลืมเลือนเสียมิได้เป็นอันขาด สุโขทัยเป็นดินแดนแห่งความทรงจำถึงอดีตกาลแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยในความสำคัญที่
* เป็นราชธานีแห่งแรกของไทยและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด
* เป็นดินแดนของมหาราชองค์แรกของไทย
* กษัตริย์พระองค์แรกทรงผนวชในบวรพุทธศาสนา
* เป็นจุดกำเนิดลายสือไทย และวรรณคดีเล่มแรกของไทย "ไตรภูมิพระร่วง"
* เป็นแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมชิ้นแรก "ชามสังคโลก"

ประวัติจังหวัดสุรินทร์

จังหวัดสุรินทร์


จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีจังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่
สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากจังหวัดหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าดินแดนจังหวัดสุรินทร์แห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมามีอำนาจเหนือพื้นที่แห่งนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเกิดกลายเป็นดงขึ้นมา จนกระทั่งถึงปี พุทธศักราช 2306 จึงปรากฎหลักฐานว่า หลวงสุรินภักดี(เชียงปุม)ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้ง \ของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันเนืองจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่งมีกำแพงล้อมรอบถึง 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็น" เมืองประทายสมันต์ " และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ในปี พุทธศักราช 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ " เมืองประทายสมันต์ " เป็น " เมืองสุรินทร์ " ตามบรรดาศักดิ์ของเจาเมือง

ประวัติจังหวัดเลย

เลย
เมืองเลย ได้ชื่อว่า "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม" มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนก ที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนลานช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบพ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบั้นอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้ายสร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐาน ว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้ อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำ ไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็น " เมืองด่านซ้าย " อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยาง ในที่สุดโดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ และอำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน ระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตลานนาไทย ต่อแดนลานช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงคราม ข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่ หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไล อยู่ด้วยความ สงบร่วมเย็นมา จนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพ ไปตามลำแม่น้ำเซไล ถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า " บ้านแห่ " (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงคงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย" ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองเรียกชื่อว่า "อำเภอกุดป่อง" ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น "บริเวณลำน้ำเลย" พ.ศ. 2449 - 2540 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลยเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่เหนือสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,424 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,383 ไร่ (ประมาณร้อยละ 6.74 ของเนื้อที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) พื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 70 เป็น ป่าและภูเขสูงสลบซับซ้อน ตัวจังหวัดห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 550 กิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง เป็นแนวพรมแดน ระยะทางยาว 194 กิโลเมตร และจังหวัดเลย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน ทิศใต้ ติดต่อ อ. ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น , อ.น้ำหนาว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ทิศตะวันออก ติดต่อ อ.สังคม จ.หนองคาย, อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี, กิ่ง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู , อ.สีชมภู จ.ขอนแก่น ทิศตะวันตก ติดต่อ อ.นครไทย อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลกโดยแนวชายแดนที่ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นแนวกั้น อาณาเขต รวมระยะทาง 194 กม. (กิโลเมตร) - แม่น้ำโขงระยะทางยาว 71 กม. (อยู่ในเขต อ.ปากชม อ.เชียงคาน) - แม่น้ำเหืองระยะทางยาว 123 กม. (อยู่ในเขต อ.ท่าลี อ.ภูเรือ อ.ด่านซ้าย อ.นาแห้ว)

10/1/53

กลอนอกหัก เป็นเพียง...เส้นขนาน
คนบางคน.. ได้รักได้รู้จักกับใครสักคน แต่แล้วก็มีอันทำให้คนสองคนเป็นได้แค่เพียงเส้นขนาน ที่ไม่อาจบรรจบลงเอยกันได้ ด้วยเพราะใครสักคนอาจมีพันธะกับคนอีกคนก่อนอยู่แล้ว โดยไม่เคยบอกกล่าว...
คนบางคน.. เลือกที่จะเป็นเพียงเส้นขนานกับใครสักคน แม้ต้องแบกรับความรักที่ท่วมท้นในใจอย่างเจ็บปวด เงียบๆเพียงลำพัง แต่ด้วยตระหนักว่า การเป็นเพียงเส้นขนานกันในวันนี้ แม้จะทุกข์เพราะรักมักอยากอยู่ชิดใกล้กับคนที่รัก
คนบางคน.. ยึดมั่นในความรักแต่หากยึดมั่นในความถูกต้องเช่นเดียวกัน บนเส้นขนานที่อาจดูอ้างว้าง เจ็บปวดและว้าเหว่ สับสนและปวดร้าวในใจ แต่บนเส้นขนานที่เดียวดายเส้นนี้
คนบางคน.. เรียนรู้ เข้าใจในความรักมากขึ้นว่า ความรักหากได้มาด้วยการรดน้ำพรวนดินด้วยความผิดหรือการแย่งชิง กิ่งก้านที่แตกดอกออกผล ล้วนแล้วแต่ คือร่องรอยของความเจ็บปวดและความทุกข์
คนบางคน.. ยังคงยืนหยัด กับวันเวลาบนเส้นขนานสายนี้ที่เลือกแล้ว ด้วยเพราะความรักและใครสักคนยังคงอยู่ในใจตลอดเวลา อยู่กับคืนวันที่ผ่านไปและกับความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต บนเส้นขนานที่เดียวดายเส้นนี้ วันหนึ่ง อาจมีใครสักคนร่วมทาง อาจเป็นใครคนเดิม อาจไม่ใช่หรืออาจไม่มี
คนบางคน.. อกกับตัวเองอย่างมีเกียรติและภาคภูมิใจว่า "เราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว" เพียงแค่นี้ ความสุขบนเส้นขนานก็ดูจะไม้ร้างลาและเดียวดายอย่างแน่นอน อาจดูเป็นเรื่องง่ายๆที่จะทำ แต่ไม่ง่ายนักกับการลงมือทำ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำ ขอเพียงไม่ตามใจตัวเองอย่างเพลิดเพลิน
คนบางคน.. ก็รู้ว่าตัวเองทำได้ ในชีวิตของคนเรา เราอาจเคยเป็นทั้งผู้เลือกและผู้ถูกเลือก จะช้าหรือเร็ว จะมากหรือน้อย สักวันเราก็ต้องเลือก หากมีโอกาสได้เลือก จงเลือกให้รอบคอบและถูกต้องที่สุด อาจไม่ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่อย่างน้อยเราก็ได้เลือกอย่างถูกต้องที่สุดแล้ว

กลอนอกหัก

กลอนอกหัก คนที่ใช่มากกว่า
เรามีเรื่องของคู่รัก 2 คู่มาเล่าให้ฟัง
ทั้ง 2 คู่ต่างก็เป็นคู่รักที่รักกันมาก
ดูแลเอาใจใส่ และเข้าอกเข้าใจกันมานาน 7- 8 ปี
เป็นคู่รักที่คนรู้จักต่างก็แน่ใจว่า …
อีกไม่นานก็คงได้ยินข่าวดี จากคู่รัก 2 คู่นี้แน่ๆ
แต่แล้ววันหนึ่งก็เกิดเหตุการณ์เดียวกันขึ้นกับคู่รักทั้ง 2 คู่
เมื่อฝ่ายชายก็ได้พบใครใหม่ ที่คิดว่า "ใช่" มากกว่า
ผู้หญิงคนใหม่ … ที่สวยกว่าและมีเสน่ห์มากกว่า
ฝ่ายชายตัดสินใจคบดูใจด้วย โดยที่ยังไม่เลิกกับคู่รักเดิม …
ยิ่งคบเขาก็ยิ่งรู้สึกว่าใช่ …
ผู้หญิงคนใหม่ที่คบกันมา 2 - 3 เดือน
กับคนรักคนเดิมใน 7- 8 ปีที่ผ่านมา
เริ่มถ่วงดุลน้ำหนักที่เท่ากัน บนตาชั่งการตัดสินใจขอ งเขา
ทายสิว่า ชายหนุ่มทั้งคู่เลือกใคร
เขาทั้งคู่เลือกผู้หญิงคนใหม่ …
สิ่งที่ผู้ชายทั้งคู่ต่างหยิบยกมากล่าวถึงก็คือ
คนรักคนเดิมที่เคยคบด้วย
มีอะไรบางอย่างที่เขาไม่ค่อยชอบใจ
อาจจะเป็นนิสัยส่วนตัวบางประการ
แต่ในขณะที่คบกันมานั้น …
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เขาพอรับได้
เมื่อเทียบกับความดีอื่นๆ ที่เธอทำให้เขา

กลอนอกหัก

คนใกล้ไม่เคยค่า แลมอง
คนใกล้ไม่เคยค่า แลมอง
คนไกลใยจับจอง ดูค่า
ไกลไม่ไร้เจ้าของ แต่ใกล้ใช่นา
คนไกลใยมิค่า ควรเจ้าแลมอง
กระดาษทรายคือใจ
เธอกระดาษทรายคือใจ
เธอสากเสมอสำหรับ
ฉันเมื่อลองสัมผัสมัน
แสบเจ็บคันอย่าบอกใคร
เช็ดน้ำตา ที่ไหลมาที่ละหยด
แล้วจำจดความช้ำ แต่ครั้งหลัง
อดีตรัก ที่เคยได้พุกพัง
จะไปหวัง ให้หวนคืนอีกทำไม

กลอนอกหัก


เธอคงไม่มีวันกลับมา
เธอคงไม่มีวันกลับมา
เธอคงไม่มีวันกลับมาจึงปล่อยฉันให้อ่อนล้าอยู่ตรงนี้
เจ็บปวดกับน้ำตาที่มี
ให้ฉันพร่ำเพ้อทุกนาทีโดยไม่เหลือใคร
แต่อยากให้เธอรู้นะคนดี
ว่าฉันคนนี้ยังคงรักเธอมากแค่ไหน
แม้ในวินาทีนี้ที่เธอคิดถึงใคร
แต่หนึ่งลมหายใจยังมีอยู่ต่อไปเพื่อคิดถึงเธอ

กลอนอกหัก

อยากหยุดเวลาไว้ตรงนี้
อยากหยุดเวลา ไว้ตรงนี้
อยากหยุดเวลา ไว้ตรงนี้ไม่อยากให้ 1 นาทีข้างหน้า มาถึง
เร็วเกินกว่า จะหาวิธีใด มาฉุดดึง
ไม่พอจะเอ่ย คำลึกซึ้ง ได้หมดใจ
ขอเวลา ให้ฉันบ้าง
อย่ารีบผลัก ความอ้างว้างมาให้
อย่าคิดง่าย ๆ ..แค่จากไป....
คิดยาก ๆ บ้างได้ไหม..
คิดถึงสภาพฉันที่ไม่เหลือใคร.....แม้แต่เธอ.....

กลอนอกหัก


" กลับมาเหมือนเดิมนะ...คนดี "

อยากหัยเราเป็นเหมือนเดิม
เป็นอย่างที่เคยเป็นจะได้
ไหมไม่รู้สิไม่รู้ช่วงนี้เป็นอ่ะไร
แค่รู้สึกห่างไกลเธอทุกที

8/1/53

ภาษาบอกรัก ฉันรักเธอ

๏’- พม่า เรียกว่า จิต พา เด (chit pa de)
-`๏’- เขมร เรียกว่า บอง สรัน โอน (Bon sro Iahn oon)
-`๏’- เวียดนาม เรียกว่า ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
-`๏’- มาเลเซีย เรียกว่า ซายา จินตามู (Saya cintamu)
-`๏’- อินโดนีเซีย เรียกว่า ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
-`๏’- ฟิลิปปินส์ เรียกว่า มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
-`๏’- ญี่ปุ่น เรียกว่า คิมิ โอ ไอ ชิเตรุ (Kimi o ai X eru)
-`๏’- เกาหลี เรียกว่า โน รุย สะรัง เฮ (No-rui sarang hae)
-`๏’- เยอรมัน เรียกว่า อิคช์ ลิบ ดิกช์ (Ich Liebe Dich)
-`๏’- ฝรั่งเศส เรียกว่า เฌอแตม (Je taime)
-`๏’- ฮอลแลนด์ (ดัชต์) เรียกว่า อิค เฮา ฟาวน์ เยา (Ik hou van jou)
-`๏’- สวีเดน เรียกว่า ย็อก แอลสการ์ เด (Jag a Lskar dig)
-`๏’- อิตาลี เรียกว่า ติ อโม (Ti amo)
-`๏’- สเปน เรียกว่า เตอ เควียโร (Te quiero)
-`๏’- รัสเซีย เรียกว่า ยาวาส ลุยบลิอู (Ya vas Liubliu)
-`๏’- โปรตุเกส เรียกว่า อโม-เท (Amo-te)
-`๏’- จีนกลาง เรียกว่า หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
-`๏’- จีนแต้จิ๊ว เรียกว่า อั๊ว เซี๊ยะ หลื่อ (Auo Seaa Laue)
-`๏’- จีนแคะ เรียกว่า ไหง อ้อย หงี (Ngai oi ngi)
-`๏’- ฮกเกี้ยน เรียกว่า อั๊ว นาย ลู่ (Auo ai Lu)
-`๏’- ตุรกี เรียกว่า เซนี เซวีโยรัม (Seni Seviyorum )

จำนวนและความหมายดอกไม้

1 ดอก หมายถึง รักแรกพบ 2 ดอก หมายถึง แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
3 ดอก หมายถึง ฉันรักเธอ 7 ดอก หมายถึง คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9 ดอก หมายถึง เราสองคนจะรักกันตลอดไป 10 ดอก หมายถึง คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
11 ดอก หมายถึง คุณเป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน 12 ดอก หมายถึง ขอให้เธอเป็นคู่ฉันเพียงคนเดียว
13 ดอก หมายถึง เพื่อนแท้เสมอ 15 ดอก หมายถึง ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
20 ดอก หมายถึง ฉันมีความจริงใจต่อเธอ 21 ดอก หมายถึง ชีวิตนี้ฉันมองเพื่อเธอ
36 ดอก หมายถึง ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน 40 ดอก หมายถึง ความรักของฉันเป็นรักแท้
99 ดอก หมายถึง ฉันรักเธอจนวันตาย 100 ดอก หมายถึง ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101 ดอก หมายถึง ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น 108 ดอก หมายถึง คุณจะแต่งงานหับฉันไหม
999 ดอก หมายถึง ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย
ดอกเบญจมาศ สื่อความหมายของคำว่า “ รักแท้ ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดอกสีขาว
ซึ่งคนญี่ปุ่นจะถือว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นดอกไม้อันสูงศักดิ์และทรงเกียรติ
ดอกโบตั๋นแคระ หมายถึง ตัวแทนของหญิงที่มีความสง่างาม
ดอกบัวสาย หรือที่เรียกว่า Water Lily เป็นไม้น้ำชนิดหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ และยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของอิปต์ด้วย
โดยให้ควาหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งจิตใจ
ต้นไอวี่ หมายถึง การมีรักเดียวใจเดียว
ดอกฟอร์เก็ตมีน็อต มาจากตำนานเล่าขานที่ว่ากาลครั้งหนึ่งมีอัศวินหนุ่มในชุดเกราะกำลังเดินเล่นที่ริมลำธารกับหญิงที่รัก
สาวเจ้าเห็นดอกไม้ที่ริมตลิ่งชูช่อสวยงามอยู่ ก็เกิดความอยากได้ขึ้นมาและขอให้อัศวินเก็บให้
ขณะที่กำลังเอื้อมมือคว้าดอกไม้นั้นอัศวินกลับเกิดเสียหลักลื่นตกลงไปในลำธารด้วยชุดเกราะที่แสนหนักหน่วงจึงถ่วงให้เขาไม่สามารถจะว่ายน้ำได้
เขาจึงโยนดอกไม้ดอกนั้นให้กับเธอพร้อมกับตะโกนว่า Forget-Me-Not และจมหายไปต่อหน้าต่อตาหญิงสาวผู้นั้นไม่เคยลืมเขาเลยและให้ชื่อดอกไม้นั้นว่าดอก
Forget-Me-Not ดอกไม้นี้จึงเป็นตัวแทนของรักแท้ และความทรงจำแห่งความรัก
กล้วยไม้-ระลึกถึง
คอนฟาวเวอร์-ความบอบบาง
ดาวเรือง-สิ้นหวัง
เดซี่-ความไร้เดียงสา
ซ่อนกลิ่น-พิสวาทที่อันตราย
แกนดิออรัส-ความเป็นตัวของตัวเอง
บานชื่น-คิดถึงเธอ
คาร์เนชั่นชมพู-รักของผู้หญิง
คาร์เนชั่นแดง-แด่หัวใจที่น่าสงสาร
คาร์เนชั่นลาย-การปฏิเสธ
เดฟฟาเดล-ความกล้าหาญ
ทิวลิปเหลือง-รักที่ค่นข้างสิ้นหวัง
ทิวลิปแดง ( i like )-การบอกรัก
ทิวลิปลาย-ดวงตาของคุณสวยจริงๆ
นาซิซัส-ความอวดดี
ทานตะวัน-ความถือตัว
เบญจมาศเหลือง-รักนิดหน่อย
เบญจมาศแดง-รัก
โบตั๋น-ความขี้อาย
ป๊อปปี้ขาว-การหลับ
ป๊อปปี้แดง-การปลอบโยน
ป๊อปปี้แดงเข้ม-พิเศษสุด
แฟนซี่-การระลึกถึง
ฟอร์เก็ตมีนอต-รักแท้
มอร์นิ่ง กอร์รี่-หลงรัก
มะลิ-ความสง่างาม
รองเท้านารี-ความเอาแต่ใจ
ลินลี่-ความอ่อนหวาน ความบริสุทธิ์
ไรแร็ค-ความรู้สึกที่แรกรัก
ไวโอเลต-ความถ่อมตัว
สร้อยไก่-รักอมตะ
สร้อยทอง-กำลังใจ
สวีท พี-การจากไป
เฟริ์น-หลงเสน่ห์
แสนกดาร์กอน-สมมุติ
แอสเตอร์-ความหลากหลาย
ไอวี่-จงรักภักดี
ฮอลลี่-มองการณ์ไกล
ฮอลลี่ฮอลี่-ความปรารถนา

ทะเลหมอกสวยๆ








































ทานตะวันเขาค้อ










ปาย

























ร้าน Coffee In Love อำเภอปาย


เคยมีใครถามคุณบ้างไหมว่า... หนาวนี้ จะไปเที่ยวไหนกันดี...... ..ก็อยากไปไหนก็ได้ แต่ขอไปเที่ยวที่อากาศหนาว ๆ ไว้ก่อนได้ไหม.. เบื่อเมืองกรุงฯ รถก็ติด อากาศก็ร้อน จะไปเที่ยวแล้ว หาที่ชิลล์ ๆ หน่อยดีกว่า.. ไปไหนดีล่ะ...นึกออกหรือยัง...? งั้นก็ไป "ปาย" กันเถอะ ..........





ปายเมืองแห่งความสวยงาม


















ประวัติเมืองปาย
เมืองปายแต่เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1800 ตามประวัติความเป็นมาของอาณาจักรล้านนาเรียกอำเภอปายว่า "บ้านดอน" ทั้งนี้เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บนดอนมีป่าไม้ไฝ่ล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำปายและแม่น้ำเมือง ไหลผ่านทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตก รอบบ้านดอนเป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งทัพ และปลูกข้าวเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพและผู้คนได้เป็นจำนวนมาก พ.ศ. 1857 ตรงกับจุลศักราช 679 ทางพิงค์นครเชียงใหม่ ซึ่งมีพระเจ้าครามณีเป็นผู้ครองนครอยู่ ได้ทราบว่ามีชาวพม่าชื่อ พะกำซอ ยกทัพมาตั้งอยู่ที่บ้านดอนก็เกิดความสนใจ ต่อมาเกิดการจราจลที่เมืองแสนหวี เมืองนาย เมืองลายคำ เมืองหมอกใหม่ ในรัฐไทยใหญ่ ประเทศสหภาพพม่า พะกำซอยกทัพกลับไปปราบจราจลจนสงบและย้อนกลับมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 1860 พะกำซอได้สร้างบ้านดอนเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น มีการขุดคูเมืองรอบด้านทุกด้าน ดินที่ขุดขึ้นมาได้ถมเป็นคันดินสูง สร้างประตูเมือง 2 ประตู ทางทิศใต้และทางทิศตะวันออก จนบ้านดอนเป็นเมืองที่แข็งแรงยากที่ศัตรูจะมาตีเมืองนี้ได้ พ.ศ. 1865 เจ้าครามณีผู้ครองนครเชียงใหม่ ขณะนั้นอายุได้ 55 พรรษา ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่พะกำซอ สร้างบ้านดอน พระองค์จึงดำริจะยึดเอาเป็นเมืองขึ้น จึงได้ส่งกองลาดตระเวนมาสอดส่องดูว่าพอจะยกกองทัพมายึดเอาได้หรือไม่ ถ้าได้จะยกทัพมา แต่พระองค์สวรรคตเสียก่อน ในปี พ.ศ. 1871 ถึง ปี พ.ศ.1890 พระเจ้าเสนาะภูติ โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าครามณี ซึ่งครองเมืองเชียงแสนอยู่ได้ส่งเจ้ามหาชัยยกทัพมายึดเอาบ้านดอน สมัยนั้นการเดินทางยากลำบากต้องผ่านป่าทึบและภูเขาสูงสลับซับซ้อน รวมทั้งต้องผจญกับไข้ป่า การเดินทัพของเจ้ามหาชัยได้นำช้างไป 3 เชือก เดินทางรอนแรมขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ จนถึงที่แห่งหนึ่งเหมาะสมแก่การพักทัพจึงหยุดพักแรม ในคืนนั้นเองเจ้ามหาชัยก็หลับและฝันเห็นข้าศึกมาล้อมพระองค์และจับช้างของพระองค์ไปด้วย ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ก็ทรงเล่าความฝันให้เหล่าเสนาอำมาตย์ฟังทุกคนต่างไม่สบายใจ คอยระมัดระวังภัยตลอดเวลา ต่อมาช้างเผือกเชือกหนึ่งก็ตายลงโดยมิทราบสาเหตุ พระองค์จึงสั่งให้เผาและเอากระดูกช้างนั้นไปฝังไว้ใกล้ที่พักแรมแห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "บวกหัวช้าง" อยู่บนเส้นทางสาย ปาย-เชียงใหม่ เจ้ามหาชัยได้ยกทัพกลับเมืองเชียงใหม่และสวรรคตในปี พ.ศ. 1978 ฝ่ายพะกำซอปลูกสร้างเมืองสำเร็จเป็นปึกแผ่นก็มีผู้คนอพยพมาอยู่อีกมากมาย เพื่อความปลอดภัยจึงต้องมีการขุดคูเมืองโดยรอบลึกลงไปอีก และในปี พ.ศ.1980 ได้เดินทางกลับพม่าโดยให้บุตรชายชื่อ พะกำกันนะ อยู่ดูแลบ้านดอนแทน

พ.ศ.2010 พะกำกันนะ ได้สร้างวัดจองใหม่ขึ้น (ปัจจุบันคือวัดโป่ง) พ.ศ.2054 เจ้ามหาชีวิตนามว่า พระจ้าติโลกราช ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ และมอบให้ ศรีใจยา เป็นแม่ทัพยกกำลังมาตีบ้านดอนอีกครั้ง โดยเดินทัพมาจนกระทั่งถึงที่เจ้ามหาชัย จึงสั่งหยุดแล้วส่งกองสอดแนมเดินทางล่วงหน้าไปหาทางที่จะตีเอาบ้านดอนให้ได้ กองสอดแนมไปเห็นว่าบ้านดอนมี 2 ประตู อยู่ด้านทิศใต้และทิศตะวันออก มีคูเมือง 3 ด้าน แต่อีกด้านหนึ่งติดแม่น้ำ จึงกลับมารายงานให้แก่แม่ทัพศรีใจยาทราบ ครั้งถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 แม่ทัพศรีใจยาก็ยกทัพเดินทางต่อจนใกล้ถึงบ้านดอน ได้พบวังน้ำแห่งหนึ่งจึงใช้ช้างลงอาบน้ำแล้วตรัสว่า "พรุ่งนี้เจ้าจะมีชัยชนะ" ซึ่งวังแห่งนี้ต่อมาเรียกว่า "วังช้างเผือก" อยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนบ้านเวียงใต้ จากนั้นจึงเคลื่อนทัพเข้าประชิดประตูทางด้านทิศตะวันตก คืนนั้นก่อนเข้าตีบ้านดอน แม่ทัพศรีใจยาได้ฝันเห็นว่ามีเทพธิดามาห้อมล้อมพระอินทร์มาอุ้มเอาไปนอนบนยอดเขา และกลับมาที่เดิมในตอนเช้า เมื่อแม่ทัพตื่นขึ้นมาจึงเล่าให้อำมาตย์ฟัง นัยว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่แม่ทัพจะตีบ้านดอนได้แน่ รุ่งเช้าแม่ทัพศรีใจยาก็กรีฑาทัพเข้าบ้านดอน สู้รบพม่าและสามารถตีทัพพม่าแตกทางประตูทิศตะวันตก ชาวบ้านเรียกประตูนี้ว่า "ประตูม่าน" และเรียกทุ่งที่รบกันว่า "ทุ่งม่าน" (ม่าน คือ พม่า) ฝ่ายพะกำส่างกง น้องชายของพะกำกันนะ ได้หนีออกไปทางทิศใต้และถูกแม่ทัพศรีใจยาไล่ตามไป เกิดการสู้รบกันขึ้น และได้ถูกแม่ทัพศรีใจยาฆ่าตาย ชาวบ้านเรียกประตูนี้ว่า "ประตูดำ" หมายถึง คนตาย ฝ่ายพะกำกันนะเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงยอมแพ้แก่แม่ทัพศรีใจยา เมื่อตีบ้านดอนได้แล้ว แม่ทัพศรีใจยาได้เกลี้ยกล่อมให้พะกำกันนะ ช่วยปกครองดูแลบ้านดอนเป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่าเมืองเชียงใหม่จะตั้งบุคคลอื่นมาแทน แล้วแม่ทัพยศรีใจยาก็ยกทัพกลับเมืองเชียงใหม่ และรายงานผลการรบให้พระเจ้าติโลกราชทรงทราบ พระองค์จึงแต่งตั้งให้แม่ทัพยศรีใจยามาปกครองบ้านดอน โดยแต่งตั้งเป็น "เจ้าชัยสงคราม" ต่อมา พ.ศ.2090 เจ้าชัยสงคราม เสียชีวิตลง สิริอายุรวม 64 ปี ผู้ครองบ้านดอนใหม่ต่อมาคือ เจ้าแม่สุนันทา ผู้เป็น
พ.ศ.2146 พระเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า ได้อำนาจขึ้นมาและทราบข่าวการเสียชีวิตของเจ้าชัยสงคราม จึงยกทัพเข้าตีแคว้นไทยใหญ่ ตั้งแต่เมืองนาย เมืองแสนหวี เมืองสีป้อ เมืองหมอกใหม่และเลยเข้ามาตีบ้านดอน เวียงใหม่ ด้วยกำลังคนอันน้อยจึงพ่ายแพ้แก่พม่า เจ้ากรุงอังวะสั่งให้เผาทำลายบ้านเมือง วัดวาอาราม เสียหายอย่างมาก บ้านดอนเวียงใหม่ จึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกครั้ง ต่อมาความทราบถึงสมเด็จพระนเรศวร พระองค์จึงยกทัพมาพร้อมพระเจ้าหริภุญชัยเจ้าเมืองเชียงใหม่เพื่อจะตีเมืองอังวะและบ้านดอนเวียงใหม่ โดยเดินทางมาทางเมืองหางและตั้งพระทัยจะตีเมืองอังวะก่อน แต่พระองค์ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อ พ.ศ.2148 ตรงกับจุลศักราช 967 เจ้ากรุงอังวะทราบข่าวสมเด็จพระนเรศวรจะทรงยกทัพไปตีเมืองอังวะ จึงรีบสละบ้านดอนเวียงใหม่ พ.ศ.2398 เจ้าแก้วเมืองมาผู้เป็นหลานของเจ้าชัยสงครามได้มาปกครองบ้านดอน เวียงใหม่ และได้มีการสร้างวัดที่พม่าเผาทิ้งขึ้นมาใหม่ รวมทั้งทำการบูรณะกำแพงต่าง ๆ จนเสร็จเรียบร้อย ในปี พ.ศ.2403 เจ้าแก้วเมืองได้รับบัญชาจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เดินทางไปหาที่ฝึกสอนช้างป่าในดินแดนด้านใต้บ้านใหม่เมืองปายถึง พ.ศ.2409 อูกิคีรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ครองเมืองปาย และเกิดผิดใจกับเจ้าฟ้าโกหล่าน ได้กราบทูลเจ้าเมืองเชียงใหม่ โดยกล่าวหา ว่าเจ้าฟ้าโกหล่านและขุนหลวงผู้เป็นบุตรคบคิดกบฎ จนทำให้เจ้าฟ้าโกหล่านและขุนหลวงต้องอพยพครอบครัวกันมายังเมืองหมอกใหม่ พ.ศ.2412 เจ้าฟ้าโกหล่านยกทัพจากเมืองหมอกใหม่มาตีบ้านดอนเวียงใหม่จนได้รับชัยชนะจึงได้ปกครองเมืองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาถูกกองทัพจากเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาปราบปรามเจ้าฟ้าโกหล่านแตกพ่ายกลับไปยังเมืองหมอกใหม่อีกครั้ง เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงตั้งให้พญาดำรงราชเสมาเป็นผู้ปกครองถึงปี พ.ศ.2417 ชานกะเลผู้มีความสามารถหลายด้านได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็น "พญาสิงหนาทราชา" ครองเมืองแม่ฮ่องสอน และเปลี่ยนบ้านดอนเวียงใหม่เป็น "เมืองปาย" ซึ่งมีพญาดำรงราชเสมาครองเมืองปายอยู่แล้ว จน พ.ศ.2440 พญาดำรงราชเสมาผู้เป็นบุตรชายขึ้นครองเมืองปายแทน พ.ศ.2450 หลังขึ้นปกครองเมืองปายได้ 1 ปี พญาดำรงราชเสมาก็ถึงแก่กรรม ทางเมืองแม่ฮ่องสอนได้เสนอต่อเมืองเชียงใหม่ให้พญาบริบาลปกครองเมืองปาย ซึ่งพญาบริบาลปกครองเมืองปายอยู่ได้ไม่นานก็ลาออก จึงมีการแต่งตั้งให้ขุนส่างเกซะครองเมืองปาย ต่อมา พ.ศ.2453 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกการปกครองมณฑลเปลี่ยนฐานเมืองเป็นอำเภอ และได้แต่งตั้งหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (หลวงสุขุมมินทร์) เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอปาย และมีนายอำเภอปกครองดูแลมาจนถึงปัจจุบันอำเภอปายมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหุบเขากว้างใหญ่ โอบล้อมด้วยแนวเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตกและเทือกเขาแดนลาว พื้นที่บริเวณหุบเขาและพื้นราบลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำแม่ปิงน้อย ลุ่มน้ำแม่เย็น รวมทั้งในพื้นที่ดอนและพื้นที่สูงในป่าเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ และเป็นถิ่นฐานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะหรือละว้า ชนพื้นเมืองดั้งเดิมแห่งสุวรรณภูมิ ดังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ อันได้แก่ สถูป เจดีย์ วิหาร วัดร้าง ซึ่งเป็นโบราณสถานทางพุทธศาสนา รวมทั้งเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่กระจายอยู่บริเวณกว้างในลุ่มน้ำปาย บริเวณรอยต่อเทือกเขาแดนลาวกับเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก เป็นแหล่งต้นธารแม่น้ำปายที่ไหลในแนวเหนือ - ใต้ ผ่านเทือกเขาและผืนป่าที่ยังคงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และมีความหลายหลายทางชีวภาพสูงมาก อันเนื่องจากเทือกเขาแดนลาวเชื่อมต่อกับแนวเทือกเขาหิมาลัย ทอดผ่านมณฑลซินเจียง เสฉวน และยูนนานในสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงมายังรัฐฉานในสหภาพเมียนมาร์และชายแดนไทย จึงมีพืชพันธุ์ไม้กึ่งเขตหนาวรวมทั้งสัตว์ป่าที่มีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย รวมทั้งมีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่ปายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา – แม่แสะ ซึ่งเป็นพื้นที่ตะเข็บรอยต่ออำเภอแม่แตงกับอำเภอปาย และบริเวณโป่งกลางปายซึ่งเป็นพื้นที่ตะเข็บรอยต่ออำเภอปายกับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนตลอดช่วงพัฒนาการอันยาวนานของตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย มีการอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนหลากชาติพันธุ์ในหลายช่วงเวลา โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๓๐ บริษัทบอร์เนียวและบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าของอังกฤษ ได้เข้ามาขอรับสัมปทานทำไม้ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ บริษัททั้งสองแห่งเข้ามาดำเนินการตัดและชักลากไม้ในพื้นที่อำเภอปาย ส่วนพื้นที่แม่สะเรียงใช้วิธีว่าจ้างลูกช่วงคือขุนจันต๊ะ พ่อเลี้ยงชาวปกาเกอะญอเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากการทำไม้ต้องใช้แรงงานคนและช้างจำนวนมาก อังกฤษจึงนำชนชาติข่าหรือขมุจากลาว ต่องสู่และไทใหญ่จากรัฐฉานเข้ามาเป็นคนงาน รวมทั้งคนงานพื้นเมืองจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ไทลื้อจากสะเมิง ปกาเกอะญอจากแม่วาง แม่วิน สันป่าตอง เมืองคอง และแม่สะเรียง คนงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำแม่เย็น ลุ่มน้ำแม่ฮี้ และลุ่มน้ำแม่ปิงน้อยช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา หน่วยทหารช่างกองทัพญี่ปุ่นได้สร้างเส้นทางยุทธศาสตร์จากแยกแม่มาลัย อำเภอแม่แตง ผ่านป่าแป๋ แม่เลา แม่แสะ มายังอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน และขุนยวม เพื่อส่งกำลังทหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และเสบียงอาหารเข้าไปหนุนช่วยกองกำลังแนวหน้าที่บุกเข้าไปปฏิบัติการยึดครองพม่า โดยเฉพาะมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันทางตอนเหนือ พร้อมกันนี้มีการเกณฑ์แรงงานชาวไทยจากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ อันได้แก่ ดอยสะเก็ด สันทราย แม่ริม แม่แตง เชียงดาว ฯลฯ ไปเป็นคนงานสร้างทาง คนงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ในตำบลแม่ฮิ้ อำเภอปายบริเวณหุบเขากว้างใหญ่ลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำแม่ฮี้ ลุ่มน้ำแม่เย็น และลุ่มน้ำแม่ปิงน้อย อยู่ในทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกค่อนข้างชุก ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยประมาณ ๑,๒๗๕ มม./ปี ช่วงฤดูฝนแต่ละปีมักมีน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่ราบลุ่มสองฟากฝั่ง มีการทับถมของโคลนตะกอนที่อุดมด้วยแร่ธาตุสารอาหาร ส่งผลให้เป็นพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว ทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รวมทั้งถั่วเหลืองและกระเทียมซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักส่วนในพื้นที่ดอนและพื้นที่สูงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อันได้แก่ ม้ง ลีซอ ลาหู่ยี(มูเซอร์แดง) ปกาเกอะญอ และจีนคณะชาติอพยพ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างทั้งกายภาพของพื้นที่ตั้ง ภูมินิเวศย่อย ภาษา วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เทคโนโลยีการผลิตและการเพาะปลูก รวมทั้งขนบจารีตประเพณีที่หลอมรวมเป็นวิถีชีวิตของผู้คนและวิถีของชุมชนหลังการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสาย ๑๐๙๕ จากแม่มาลัย ผ่านอำเภอปาย ปางมะผ้า ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอนเสร็จสิ้นลง เริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่อำเภอปาย และนับแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา อำเภอปายเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ว่าเป็นเมืองในหุบเขาที่มีธรรมชาติสวยงาม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสงบงามในวิถีแห่งชนบท และมีศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาหมู่บ้านชาวไทยภูเขาในพื้นที่ห่างไกลมีการปลูกฝิ่น บางแห่งอยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวแบบเดินป่า นักท่องเที่ยวนิยมเดินป่าในเส้นทางผ่านไร่ฝิ่นและนอนพักบ้านชาวไทยภูเขา ทำให้มีการสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วยการนำไร่ฝิ่นและฝิ่นมาเป็นจุดขาย ส่งผลให้อำเภอปายกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่อิงอยู่กับยาเสพย์ติด และรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเพิ่มมากยิ่งขึ้น วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เริ่มปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เมืองปายมีสภาพเป็น “หมู่บ้านโลก” (อุดร วงษ์ทับทิม, ๒๕๓๗ )


31/10/52

F4

คาอึนน่ารักมากๆๆ(โชคาอึล)

โชอีจองหนุ่มหน้าหวาน(คิมบอม)
น่าร๊ากๆๆๆ

F4 กับนางเองจันดีสุดสวยย



ความสัมพันธ์กันนน




น่ารักมากเลย กึมจันดี






นางร้ายแสนสวยยยยยยยยยยยยยย






กระแสของพวกเขาจร้าๆๆๆๆๆๆๆ










รูปนิยาย